พวกเราจัดอันดับผู้ให้บริการตามการทดสอบและการค้นคว้าอย่างเข้มงวด แต่ก็จะมีการคำนึงถึงความคิดเห็นของคุณและค่าคอมมิชชั่นจากผู้ให้บริการด้วย ผู้ให้บริการบางรายนั้นจะมีบริษัทแม่แห่งเดียวกันกับพวกเรา
เรียนรู้เพิ่มเติม
vpnMentor ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบบริการ VPN และวิจารณ์ด้านความเป็นส่วนตัว ในวันนี้ทีมนักวิจัย นักเขียนและบรรณาธิการด้านความปลอดภัยอินเตอร์เน็ตของเราหลายร้อยคนยังคงช่วยเหลือผู้อ่านต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์โดยร่วมมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้: ExpressVPN, CyberGhost, ZenMate, Private Internet Access และ Intego ซึ่งอาจได้รับการวิจารณ์บนเว็บไซต์นี้ บทวิจารณ์ที่เผยแพร่บน vpnMentor เชื่อว่ามีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความและเขียนขึ้นตามมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มงวดของเรา ซึ่งจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบผู้ตรวจสอบอย่างมืออาชีพและซื่อสัตย์ โดยคำนึงถึงความสามารถทางเทคนิคและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ร่วมกับมูลค่าทางการค้าสำหรับผู้ใช้ การจัดอันดับและบทวิจารณ์ที่เราเผยแพร่อาจคำนึงถึงความเป็นเจ้าของร่วมกันกับบริการที่กล่าวถึงข้างต้นและค่าคอมมิชชั่นพันธมิตรที่เราได้รับจากการซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราไม่ได้ตรวจสอบผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมดและเชื่อว่าข้อมูลที่จะมีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความ
การเปิดเผยข้อมูลการโฆษณา

vpnMentor ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบบริการ VPN และวิจารณ์ด้านความเป็นส่วนตัว ในวันนี้ทีมนักวิจัย นักเขียนและบรรณาธิการด้านความปลอดภัยอินเตอร์เน็ตของเราหลายร้อยคนยังคงช่วยเหลือผู้อ่านต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์โดยร่วมมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้: ExpressVPN, CyberGhost, ZenMate, Private Internet Access และ Intego ซึ่งอาจได้รับการวิจารณ์บนเว็บไซต์นี้ บทวิจารณ์ที่เผยแพร่บน vpnMentor เชื่อว่ามีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความและเขียนขึ้นตามมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มงวดของเรา ซึ่งจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบผู้ตรวจสอบอย่างมืออาชีพและซื่อสัตย์ โดยคำนึงถึงความสามารถทางเทคนิคและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ร่วมกับมูลค่าทางการค้าสำหรับผู้ใช้ การจัดอันดับและบทวิจารณ์ที่เราเผยแพร่อาจคำนึงถึงความเป็นเจ้าของร่วมกันกับบริการที่กล่าวถึงข้างต้นและค่าคอมมิชชั่นพันธมิตรที่เราได้รับจากการซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราไม่ได้ตรวจสอบผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมดและเชื่อว่าข้อมูลที่จะมีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความ

6 วิธีในการป้องกันตัวเองจาก CLOUD Act

เฮนดริค ฮิวแมน นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์

ความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2018 เมื่อรัฐบัญญัติสร้างความชัดเจนทางกฏหมายของการใช้งานข้อมูล (Clarifying Lawful Overseas Use of Data Act หรือ CLOUD Act) ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในหน้าท้าย ๆ ของงบประมาณกว่า 2,232 หน้า

CLOUD Act นี้ไม่เคยได้รับการลงคะแนนสียงโดยรัฐสภาสหรัฐฯหรือไม่แม้แต่กระทั่งจะมีการพิจารณา แต่มันกลับอยู่ในหน้า 2,201 ของร่างงบประมาณ $1.3 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งได้รับการลงคะแนนเสียงแบบรวมกัน

อย่างไรก็ตามผลกระทบของ CLOUD Act นี้ จะเปลี่ยนวิธีการที่เจ้าหน้าที่รัฐฯจะได้ข้อมูลของคุณ โดยมันเปิดโอกาสให้รัฐบาลสหรัฐฯและรัฐบาลต่างประเทศมีโอกาสที่จะขอข้อมูลโดยไม่มีหมายค้น

แต่ไม่ต้องกลัว เรายังไม่หมดหวัง เพราะ vpnMentor ได้รวบรวมสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของคุณไว้และไม่ต้องเปิดเผยตัวตนของคุณบนโลกออนไลน์

CLOUD Act คืออะไร?

แล้วข้อกฎหมายที่เป็นอันตรายต่อความเป็นส่วนตัวนี้คืออะไร และทำไมสภาคองเกรสถึงต้องแอบมันไว้ในงบประมาณที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้รับการอนุมัติ?

เรื่องทุกอย่างเริ่มต้นเมื่อหลายปีก่อน ที่มีการสืบสวนคดีอาญาของพลเมืองไอริช รัฐบาลสหรัฐฯได้ออกหมายจับและหมายค้นแก่ Microsoft เกี่ยวกับข้อมูลที่ถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ในไอร์แลนด์ แต่ Microsoft ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลโดยอ้างว่าเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ต้องทำตามหมายจับนั้น คดีนี้ลากยาวมาสี่ปีแล้ว

ตัดภาพมาที่ตอนนี้ ภายใต้ CLOUD Act นั้น รัฐบาลสหรัฐฯไม่จำเป็นจะต้องออกหมายค้น และ Microsoft ก็จะต้องทำตามคำขอและส่งข้อมูลให้กับทางรัฐบาล Microsoft ได้ให้การแล้วว่าไม่จำเป็นจะต้องต่อสู้แล้วและทางบริษัทจะส่งข้อมูลให้กับทางการ

มีบัญญัติสองข้อในงบปประมาณนี้:

  1. อนุญาตให้หน่วยงานรัฐใด ๆ ตั้งแต่ตำรวจท้องที่ไปยังหน่วยงานของรัฐบาลกลางสามารถเข้าถึง “เนื้อหาของการสื่อสารทั้งผ่านสายหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และบันทึกหรือข้อมูลอื่น ๆ” ไม่ว่าจะข้อมูลจะถูกเก็บไว้ที่ไหน หากบริษัทเป็นบริษัทในสหรัฐอเมริกา พวกเขาจะถูกบังคับให้ส่งข้อมูลให้ทางการถึงแม้ว่าเซิร์ฟเวอร์จะอยู่ในต่างประเทศก็ตาม
  2. ประธานาธิบดีของสหรัฐฯจะสามารถทำ “ข้อตกลงเฉพาะ”​ กับประเทศอื่น ๆ เพื่ออนุญาตให้สหรัฐฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในต่างประเทศได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการ ข้อมูลหล่านี้สามารถใช้กับพลเมืองสหรัฐฯได้ ถึงแม้ทางการจะได้มันมาโดยไม่มีหมายค้นก็ตาม

กฎหมายฉบับนี้น่ากลัวสำหรับพลเมือง เนื่องจากมันเป็นอันตรายต่อความเป็นส่วนตัวของคุณ​

ลองจินตนาการว่ารัฐบาลต่างประเทศกำลังตรวจสอบพลเมืองของพวกเขาและสามารถขอข้อมูลบนโซเชียลเน็ตเวิร์คต่าง ๆ เช่น Facebook ได้ และ Facebook ก็จะถูกบังคับให้ต้องส่งข้อมูลเหล่านี้และนี่รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับพลเมืองสหรัฐฯด้วย

รัฐบาลต่างประเทศเหล่านั้นก็สามารถส่งข้อมูลให้รัฐบาลสหรัฐฯได้เช่นเดียวกันโดยไม่จำเป็นต้องมีหมายจับหรือหมายค้น

คุณสามารถดู CLOUD Act ฉบับเต็มได้ที่นี่ – เลื่อนไปที่หน้า 2,201

CLOUD Act

แล้วคุณจะทำอะไรได้บ้าง?

เราไม่พร้อมที่จะเสียสละความเป็นส่วนตัวของเราและเราก็หวังว่าคุณจะไม่พร้อมเช่นกัน เราได้รวบรวมเคล็ดลับที่จะช่วยปกป้องข้อมูลของคุณจากรัฐบาลต่าง ๆ รวมถึงเว็บไซต์และบริการที่เราขอแนะนำให้คุณใช้เพื่อเก็บกิจกรรมต่าง ๆ ของคุณเป็นความลับ

  1.  ใช้ VPN เสมอ

    ขั้นตอนแรกในการรักษาความเป็นส่วนตัวของคุณก็คือการใช้ VPN ที่มีคุณภาพสูงและตรวจสอบให้แน่ใจว่า VPN ของคุณทำงานในขณะที่คุณใช้งานอินเทอร์เน็ต

    การใช้ VPN เป็นสิ่งที่จำเป็นในการรักษาความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์เนื่องจากมันจะช่วยปกปิด IP address ของคุณ​ซึ่งทำให้คุณล่องหนบนโลกออนไลน์ นอกจากนี้มันยังใช้โปรโตคอลความปลอดภัยเพื่อเข้ารหัสข้อมูลของคุณ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถเข้าใจข้อมูลที่พวกเขาเก็บไปได้ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติของ VPN ที่นี่

    แต่ไม่ใช่ VPN ทุกอันที่จะทำงานได้ดีเหมือนกัน ดังนั้นคุณควรแน่ใจว่า VPN ของคุณมีการป้องกันการรั่วไหล นโยบายไม่บันทึกข้อมูลการใช้งานที่เข้มงวด และตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มประเทศ Five Eyes Alliance (หรือแบบขยาย 14 ประเทศ) เราขอแนะนำให้ใช้ ExpressVPN ซึ่งตั้งอยู่บนหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน หรือ CyberGhostซึ่งอยู่ในโรมาเนีย ผู้ให้บริการ VPN ทั้งสองรายนี้มีโปรโตคอลความปลอดภัยที่ยอดเยี่ยมและได้พิสูจน์แล้วว่าพวกเขาไม่เก็บบันทึกข้อมูลการใช้งาน

    อันดับ
    ผู้ให้บริการ
    คะแนนของเรา
    ส่วนลด
    ไปที่เว็บไซต์
    1
    medal
    9.9 /10
    9.9 คะแนนของเรา
    ประหยัดถึง 61%!
    2
    9.2 /10
    9.2 คะแนนของเรา
    ประหยัดถึง 83%!
    3
    9.7 /10
    9.7 คะแนนของเรา
    ประหยัดถึง 83%!
  2. ลบ Facebook

    ความน่าเชื่อถือของ Facebook ลดลงอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาว Cambridge Analytica ได้มีการเผยแพร่ออกมา มีรายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่ามีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook กว่า 87 ล้านรายอย่างไม่ถูกต้อง

    ข้อมูล Facebook เป็นเหมืองทองคำสำหรับหน่วยงานรัฐที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัย การไลค์ รายชื่อเพื่อน กลุ่ม บทสนทนา และโพสต์ต่าง ๆ สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานได้ และแน่นอนมันก็ไม่แปลกที่เจ้าหน้าที่จะต้องการข้อมูลเหล่านี้

    การผ่าน CLOUD Act นั้นทำให้หน่วยงานรัฐได้รับข้อมูลเหล่านั้นอย่างรวดเร็วและง่ายดาย ทางออกเดียวก็คือการออกมาจากโซเชียลมีเดียรายยักษ์นี้และ และลบบัญชี Facebook ของคุณให้เร็วที่สุด

  3. ลบ Dropbox

    DropBox อาจจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการแชร์ไฟล์ ที่มันไม่ใช่บริการที่ปลอดภัยที่สุดแน่นอน มีการกล่าวหาว่าทางบริษัทมีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยขนาดใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

    หากคุณให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณควรสร้างบัญชีบน SpiderOak ซึ่งเป็นบริการที่เอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็นแนะนำ ถึงแม้จะอยู่ในสหรัฐฯ แต่ผู้ใช้งาน SpiderOak ก็ไม่ต้องกังวลว่ารัฐบาลจะแอบอ่านเอกสารของพวกเขา เพราะถึงแม้ว่าพวกเขาจะเปิดเผยข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์ แต่ข้อมูลเหล่านั้นก็ถูกเข้ารหัสและผู้ใช้งานที่มีกุญแจเท่านั้นถึงจะปลดล็อคไฟล์เหล่านั้นได้

  4. หลีกเลี่ยงการเก็บข้อมูลบน Cloud Storage

    อย่าสับสนระหว่าง Cloud กับ CLOUD Act โดย Cloud มีคุณสมบัติบางอย่างที่ยอดเยี่ยม เช่น การให้คุณเข้าถึงไฟล์ของคุณจากที่ไหนก็ได้ผ่านอุปกรณ์หลายๆ เครื่อง ข้อเสียก็คือ มีเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องที่อาจเข้าถึงเอกสาาร รูปถ่าย หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ และด้วย CLOUD Act นี้ หน่วยงานรัฐใด ๆ ก็ตามสามารถเข้าถึงข้อมูลเหน่านั้นได้โดยไม่ต้องออกหมายค้น

    หากคุณจำเป็นต้องใช้ cloud ลองมองหาบริการอย่าง Tresorit ที่มีการเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end encryption) และตั้งอยู่นอกสหรัฐฯ​ และอยู่ในประเทศที่ไม่ได้อยู่ใน Five Eyes alliance และหากคุณไม่ใช้ cloud เราขอแนะนำให้คุณเข้ารหัสเอกสารต่าง ๆ ของคุณด้วย VeraCrypt ซึ่งจะสร้างไฟล์สำรองที่ได้รับการเข้ารหัสบนอุปกรณ์ของคุณ

  5. เปลี่ยนบัญชี Gmail ของคุณเป็น ProtonMail

    ลองจินตนาการดูว่าคุณได้รับอีเมลจากเพื่อนเก่าสมัยมหาวิทยาลัย และเป็นเพราะอีเมลนั้นทำให้หน่วยงานรัฐสามารถอ่านอีเมลของคุณได้ทั้งหมด นั่นคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้หากคุณใช้ Gmail Yahoo mail หรือบริการอีเมลฟรีชั้นนำอื่น ๆ  แต่ ProtonMail นั้นไม่มีการระบุตัวตน ไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวในการสร้างบัญชี และทางบริษัทก็ไม่มีการบันทึก IP address และอีเมลทั้งหมดก็ถูกเข้ารหัสด้วยการเข้ารหัสแบบต้นทางถึงปลายทาง (end-to-end encryption)

    สิ่งที่ดีไปกว่านั้นก็คือการที่บริษัทตั้งอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้นจึงได้รับการปกป้องด้วยกฎหมายความเป็นส่วนตัวที่เข้มงวดของสวิส และผู้สร้าง ProtonMail ยังได้สร้าง Proton VPN ซึ่งเป็น VPN ที่ดีที่สามารถทำงานกับ TOR ได้และช่วยให้คุณรักษาความเป็นส่วนตัวได้อย่างสูง อ่าน รีวิวเกี่ยวกับ Proton VPN ที่ครบถ้วนที่นี่

  6. หลีกเลี่ยงการค้นหาบน Google

    Google รวมถึง Microsoft, Apple และ Facebook เป็น ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของ CLOUD Act ซึ่งหมายความว่าพวกเขายินดีที่จะส่งข้อมูลของคุณหากมีคำขอส่งมาที่บริษัท Google อาจจะรู้จักคุณมากกว่าที่คุณรู้จักตัวเองก็ได้ ใครจะไปรู้ว่าเวลาคุณเมาคุณค้นหาอะไรไป คุณอยากให้ข้อมูลเหล่านั้นถูกส่งต่อไปยังรัฐบาลจริง ๆ หรือ?

    ถึงแม้ว่า Google จะเป็นเสิร์ชเอ็นจินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มีทางเลือกที่มีคุณภาพอื่น ๆ เช่น StartPage ซึ่งจะให้ผลการค้นหาแบบเดียวกับ Google แต่มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวมากกว่า และ

    DuckDuckGo ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดี เนื่องจากพวกเขาไม่มีการเก็บบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน ดังนั้นจึงไม่มีข้อมูลอะไรที่มีค่าพอที่จะส่งต่อเมื่อมีการขอ

หมายเหตุจากบรรณาธิการ: เราให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของเรากับผู้อ่าน และเรามุ่งมั่นที่จะได้รับความไว้วางใจจากคุณด้วยการทำงานด้วยความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ เว็บของเราอยู่ในกลุ่มเจ้าของเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ชั้นนำในอุตสาหกรรมบางส่วนที่ได้รับการตรวจสอบบนเว็บไซต์นี้: Intego, Cyberghost, ExpressVPN และ Private Internet Access อย่างไรก็ตามสิ่งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการตรวจสอบของเรา เนื่องจากเราปฏิบัติตามวิธีการทดสอบที่เข้มงวด

การรักษาความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องยาก แต่ก็ทำได้

การปกปิดตัวตนบนโลกออนไลน์กลายเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยการออกกฎหมายอย่าง CLOUD Act ก็ทำให้การรักษาความเป็นส่วนตัวเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก

เราไม่ได้แนะนำให้คุณออกจากโลกออน์ไลน์ไปโดยสิ้นเชิง แต่คุณควรระวังและควรหามาตรการป้องกัน ขั้นตอนแรกก็คือการใช้ VPN ที่จะช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวของคุณและช่วยให้คุณอยู่บนโลกออนไลน์ได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกแอบดู อ่านรีวิวเพื่อดู VPN ที่ดีที่สุด เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของคุณ

การแจ้งเตือนความเป็นส่วนตัว!

ข้อมูลของคุณจะถูกเปิดเผยต่อเว็บไซต์ที่คุณเข้าชม!

หมายเลข IP ของคุณ:

ตำแหน่งของคุณ:

ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของคุณ:

ข้อมูลข้างต้นสามารถใช้เพื่อติดตาม กำหนดเป้าหมายโฆษณาและติดตามกิจกรรมที่คุณทำบนอินเตอร์เน็ตได้

VPN สามารถช่วยคุณซ่อนข้อมูลเหล่านี้จากเว็บไซต์ เพื่อให้คุณได้รับการปกป้องตลอดเวลา เราขอแนะนำ ExpressVPN - VPN อันดับ #1 จากผู้ให้บริการกว่า 350 รายที่เราได้ทดสอบ มีการเข้ารหัสระดับทหารและฟีเจอร์ความเป็นส่วนตัวมากมายที่จะช่วยให้คุณมั่นใจในความปลอดภัยเมื่อใช้งานอินเตอร์เน็ต - นอกจากนี้ยังมีส่วนลดจาก 61% อีกด้วย

เข้าชมเว็บ ExpressVPN

พวกเราจัดอันดับผู้ให้บริการตามการทดสอบและการค้นคว้าอย่างเข้มงวด แต่ก็จะมีการคำนึงถึงความคิดเห็นของคุณและค่าคอมมิชชั่นจากผู้ให้บริการด้วย ผู้ให้บริการบางรายนั้นจะมีบริษัทแม่แห่งเดียวกันกับพวกเรา
เรียนรู้เพิ่มเติม
vpnMentor ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบบริการ VPN และวิจารณ์ด้านความเป็นส่วนตัว ในวันนี้ทีมนักวิจัย นักเขียนและบรรณาธิการด้านความปลอดภัยอินเตอร์เน็ตของเราหลายร้อยคนยังคงช่วยเหลือผู้อ่านต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์โดยร่วมมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้: ExpressVPN, CyberGhost, ZenMate, Private Internet Access และ Intego ซึ่งอาจได้รับการวิจารณ์บนเว็บไซต์นี้ บทวิจารณ์ที่เผยแพร่บน vpnMentor เชื่อว่ามีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความและเขียนขึ้นตามมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มงวดของเรา ซึ่งจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบผู้ตรวจสอบอย่างมืออาชีพและซื่อสัตย์ โดยคำนึงถึงความสามารถทางเทคนิคและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ร่วมกับมูลค่าทางการค้าสำหรับผู้ใช้ การจัดอันดับและบทวิจารณ์ที่เราเผยแพร่อาจคำนึงถึงความเป็นเจ้าของร่วมกันกับบริการที่กล่าวถึงข้างต้นและค่าคอมมิชชั่นพันธมิตรที่เราได้รับจากการซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราไม่ได้ตรวจสอบผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมดและเชื่อว่าข้อมูลที่จะมีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความ

เกี่ยวกับผู้เขียน

เฮนดริคเป็นนักเขียนที่ vpnMentor เขาเชี่ยวชาญด้านการเปรียบเทียบ VPN และการเขียนคู่มือผู้ใช้ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 5 ปีในฐานะนักเขียนด้านเทคโนโลยีและความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต บวกกับประสบการณ์ด้านไอทีองค์กร เขานำเสนอมุมมองที่หลากหลายเพื่อทดสอบบริการ VPN และวิเคราะห์ว่าแต่ละบริการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกันอย่างไร

คุณชอบบทความนี้ไหม? โหวตให้คะแนนเลยสิ!
ฉันเกลียดมัน ฉันไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ พอใช้ได้ ค่อนข้างดี รักเลย!
เต็ม 10 - โหวตโดย ผู้ใช้งาน
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

กรุณาแสดงความคิดเห็นว่าพวกเราสามารถพัฒนาบทความนี้ได้อย่างไร ความคิดเห็นของคุณมีค่าสำหรับเรา!

แสดงความคิดเห็น

ขออภัย แต่ช่องนี้ไม่รองรับลิงก์!

ชื่อจะต้องมีอย่างน้อย 3 ตัวอักษร

ช่องเนื้อหาจะต้องยาวไม่เกิน 80 ตัวอักษร

ขออภัย แต่ช่องนี้ไม่รองรับลิงก์!

กรุณากรอกที่อยู่อีเมลที่ถูกต้อง