พวกเราจัดอันดับผู้ให้บริการตามการทดสอบและการค้นคว้าอย่างเข้มงวด แต่ก็จะมีการคำนึงถึงความคิดเห็นของคุณและค่าคอมมิชชั่นจากผู้ให้บริการด้วย ผู้ให้บริการบางรายนั้นจะมีบริษัทแม่แห่งเดียวกันกับพวกเรา
เรียนรู้เพิ่มเติม
vpnMentor ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 ในฐานะเว็บไซต์รีวิวบริการ VPN อย่างอิสระและเว็บไซต์ข่าวเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัว วันนี้ ทีมงานนักวิจัยความปลอดภัยทางไซเบอร์, นักเขียน และบรรณาธิการนับร้อยของพวกเราได้ช่วยผู้อ่านให้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์ผ่านการจับมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้: ExpressVPN, CyberGhost และ Private Internet Access ซึ่งอาจจะได้รับการจัดอันดับและรีวิวบนเว็บไซต์ของเราด้วย รีวิวที่ได้รับการเผยแพร่บน vpnMentor นั้นมีความแม่นยำถึงวันที่ทำการเผยแพร่ และแต่ละรีวิวก็จะถูกเขียนขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานที่เข้มงวดด้านการรีวิวซึ่งจะเน้นความเป็นอิสระและการค้นคว้าวิจัยอย่างซื่อสัตย์และเป็นมืออาชีพของนักรีวิว โดยจะเน้นไปถึงความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์รวมถึงความคุ้มค่าที่มันมีต่อผู้ใช้งาน การจัดอันดับและรีวิวที่พวกเราเผยแพร่นั้นอาจจะคำนึงถึงการเป็นเจ้าของเดียวกันที่กล่าวถึงด้านบน และค่าคอมมิชชั่นที่พวกเราได้รับในกรณีที่มีการสั่งซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเราด้วย พวกเราไม่ได้ทำการรีวิวผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมด และข้อมูลที่เผยแพร่นั้นจะมีความแม่นยำถึงวันที่เผยแพร่แต่ละบทความ
การเปิดเผยข้อมูลการโฆษณา

vpnMentor ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 ในฐานะเว็บไซต์รีวิวบริการ VPN อย่างอิสระและเว็บไซต์ข่าวเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัว วันนี้ ทีมงานนักวิจัยความปลอดภัยทางไซเบอร์, นักเขียน และบรรณาธิการนับร้อยของพวกเราได้ช่วยผู้อ่านให้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์ผ่านการจับมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้: ExpressVPN, CyberGhost และ Private Internet Access ซึ่งอาจจะได้รับการจัดอันดับและรีวิวบนเว็บไซต์ของเราด้วย รีวิวที่ได้รับการเผยแพร่บน vpnMentor นั้นมีความแม่นยำถึงวันที่ทำการเผยแพร่ และแต่ละรีวิวก็จะถูกเขียนขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานที่เข้มงวดด้านการรีวิวซึ่งจะเน้นความเป็นอิสระและการค้นคว้าวิจัยอย่างซื่อสัตย์และเป็นมืออาชีพของนักรีวิว โดยจะเน้นไปถึงความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์รวมถึงความคุ้มค่าที่มันมีต่อผู้ใช้งาน การจัดอันดับและรีวิวที่พวกเราเผยแพร่นั้นอาจจะคำนึงถึงการเป็นเจ้าของเดียวกันที่กล่าวถึงด้านบน และค่าคอมมิชชั่นที่พวกเราได้รับในกรณีที่มีการสั่งซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเราด้วย พวกเราไม่ได้ทำการรีวิวผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมด และข้อมูลที่เผยแพร่นั้นจะมีความแม่นยำถึงวันที่เผยแพร่แต่ละบทความ

VPN ประเภทต่าง ๆ และโอกาสที่ใช้

Kristina Perunicic บรรณาธิการอำนวยการ

หมายเหตุจากบรรณาธิการ: ถ้าหากคุณทราบแล้วว่า VPN คืออะไรและมีโปรโตคอลอะไรบ้าง คุณสามารถข้ามไปยัง ส่วนที่ทำการเปรียบเทียบโปรโตคอลของ VPN ในบทความนี้

พวกเราเกือบทุกคนมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า เรามีการใช้งานอินเตอร์เน็ตสำหรับในเรื่องส่วนตัวและเรื่องธุรกิจในแต่ละวัน และที่ผ่านมาคุณอาจจะยังไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคุณ อย่างไรก็ตาม แล้วถ้าหากเราบอกคุณว่าอินเตอร์เน็ตของคุณไม่ปลอดภัยล่ะ? ซึ่งจริง ๆ แล้วคุณมีรหัสผ่าน WIFI และอื่นๆ อีกมากมาย แล้ว VPN ล่ะ? คุณต้องใช้ VPN หรือไม่?

กล่าวโดยคร่าว ๆ VPN หรือ Virtual Private Network คือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายที่แยกออกต่างหากซึ่งมีการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายเน็ตเวิร์คสาธารณะดังเช่นอินเตอร์เน็ต VPN จะช่วยทำให้การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของคุณมีความปลอดภัยโดยการเข้ารหัสข้อมูลที่คุณได้รับหรือส่งออกไปจากเครื่องของคุณและทำให้ข้อมูลเหล่านี้รอดพ้นจากสายตาที่ไม่หวังดี ข้อมูลเพิ่มเติมว่า VPN คืออะไรและทำไมคุณถึงต้องใช้สิ่งนี้

สิ่งแรกคือ คุณจะทราบได้อย่างไรว่าคุณต้องใช้ VPN? จริง ๆ แล้วเริ่มตั้งแต่นักเรียนไปจนถึงคนทำงาน หรือผู้ใดที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นมายุ่งกับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ออนไลน์ควรใช้ VPN

VPN มีหลายประเภท โดย VPN ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ PPTP VPN, Site-to-Site VPN, L2TP VPN, IPsec, SSL, MPLS VPN, และ Hybrid VPN เราจะพูดเกี่ยวกับรายละเอียดของ VPN แต่ละประเภทที่ด้านล่างนี้

Surveillance vs privacy: vpnmentor

  1. PPTP VPN

PPTP VPN ย่อมาจาก Point-to-Point Tunneling Protocol เหมือนกับที่ชื่อได้บอก PPTP VPN จะสร้างอุโมงค์และจับข้อมูล ซึ่งนี่เป็นโปรโตคอลที่มีการใช้งานแพร่หลายมากที่สุด ซึ่ง PPTP VPN จะถูกใช้งานโดยผู้ใช้ที่อยู่ในระยะไกลเพื่อทำการเชื่อมต่อไปยังเครือข่าย VPN โดยใช้การเชื่อมต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ต นี่เป็น VPN ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้ในภาคธุรกิจและใช้ในด้านส่วนตัว สำหรับการเข้าใช้งาน VPN นี้ ผู้ใช้จะต้องล็อกอินไปยัง VPN โดยใช้รหัสผ่านที่ได้รับการรับรอง PPTP VPN เหมาะสำหรับการใช้งานด้านธุรกิจและด้านส่วนตัวเนื่องจากคุณไม่ต้องทำการซื้อหรือติดตั้งฮาร์ดแวร์เพิ่มเติมหรือฟีเจอร์ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มเติมของซอฟต์แวร์ PPTP VPN ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเนื่องจากมันสามารถทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac และ Linux

ถึงแม้ดูเหมือนว่า PPTP VPN จะมีข้อดีมากมาย แต่ VPN นี้ก็มีข้อเสียเช่นกัน เช่น  PPTP VPN จะไม่มีการเข้ารหัสซึ่งนี่เป็นเหตุผลหลักตัวหนึ่งที่ผู้ใช้ VPN ต้องการ นอกจากนี้มันยังต้องพึ่งพา PPP หรือ Point-to-Point Protocol ในการใช้มาตรการด้านความปลอดภัยต่าง ๆ

  1. Site-to-Site VPN

Site-to-Site VPN ถูกเรียกว่า Router-to-Router VPN และถูกนำมาใช้ในการดำเนินงานขององค์กร เนื่องจากมีบริษัทหลายแห่งที่มีสำนักงานอยู่ในทั้งในและนอกประเทศ Site-to-Site VPN จึงถูกใช้เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายเน็ตเวิร์คของสำนักงานใหญ่ไปกับสำนักงานย่อยต่าง ๆ ซึ่งนี่เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ VNP สำหรับ Intranet นอกจากนี้บริษัทยังสามารถทำสิ่งที่ตรงกันข้ามได้ด้วย Site-to-Site VPN โดยใช้ Site-to-Site VPN ในการเชื่อมต่อกับบริษัทอื่น ๆ ซึ่งเราเรียกวิธีการนี้ว่า VPN สำหรับ Extranet กล่าวโดยสรุปคือ Site-to-Site VPN จะสร้างสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายเน็ตเวิร์คขของพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่เหล่านี้ไปยังอินเตอร์เน็ตและดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยและการสื่อสารแบบส่วนตัวระหว่างเครือข่ายเหล่านี้

Site-to-Site VPN จะสร้างเครือข่ายเน็ตเวิร์คที่มีความปลอดภัยคล้ายกันกับ PPTP VPN อย่างไรก็ตามจะไม่มีสายเฉพาะที่ให้ส่วนต่าง ๆ ภายในบริษัทได้ใช้ในการเชื่อมต่อเพื่อเป็น VPN นอกจากนี้การส่งข้อมูล, การเข้ารหัส, และการถอดรหัสจะเกิดขึ้นโดยฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ของเราท์เตอร์ที่อยู่ในจุดปลายทั้งสอง ซึ่งสิ่งนี้จะไม่เหมือนกับ PPTP

  1. L2TP VPN

L2TP ย่อมาจาก Layer to Tunneling Protocol ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Microsoft และ Cisco L2TP VPN คือ VPN ที่มีการรวมเอาโปรโตคอลด้านความปลอดภัยของ VPN อื่นมารวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อสร้างการเชื่อมต่อ VPN ที่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น L2TP VPN จะสร้างอุโมงค์ระหว่างจุดการเชื่อมต่อ L2TP 2 จุดและ VPN เช่นโปรโตคอล IPsec และจะทำการเข้ารหัสข้อมูลและเน้นไปที่การรักษาความปลอดภัยของการสื่อสารภายในอุโมงค์นี้

L2TP จะคล้ายกับ PPTP ในด้านการที่ไม่มีการเข้ารหัสซึ่งจะต้องใช้โปรโตคอล PPP ในการทำสิ่งนี้ สำหรับส่วนที่แตกต่างกันจะเกี่ยวข้องกับการปกปิดความลับของข้อมูลและความสมบูรณ์ของข้อมูล  L2TP VPN จะมีทั้งสองสิ่งนี้ในขณะที่ PPTP VPN ไม่มี

  1. IPsec

IPsec เป็นตัวย่อของ Internet Protocol Security ซึ่ง IPsec เป็นโปรโตคอล VPN ที่ใช้ในการสร้างความปลอดภัยให้กับการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่าย IP โดยจะมีการสร้างอุโมงค์ในพื้นที่ที่อยู่ไกลออกไปและจะให้คุณสามารถเข้ามายังพื้นที่ส่วนกลางของคุณได้ IPsec จะสร้างความปลอดภัยให้กับการสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลโดยทำการตรวจสอบในแต่ละส่วนและทำการเข้ารหัส packet ข้อมูลตลอดการเชื่อมต่อ IPsec VPN จะมีการทำงานใน 2 โหมด ได้แก่ transport mode และ tunneling mode ซึ่งทั้งสองโหมดนี้จะเป็นการปกป้องการส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน 2 เครือข่าย ในช่วงของ transport mode ข้อความใน packet ข้อมูลจะได้รับการเข้ารหัส ส่วนใน tunneling mode  packet ข้อมูลทั้งหมดจะได้รับการเข้ารหัส ข้อดีของการใช้ IPsec VPN คือการที่สามารถนำไปใช้ร่วมกับโปรโตคอลความปลอดภัยอื่น ๆ ได้เพื่อสร้างระบบการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่า IPsec จะเป็น VPN ที่มีประโยชน์ที่ควรมีไว้ แต่โปรโตคอลนี้ก็มีข้อเสียเกี่ยวกับระยะเวลาในการติดตั้ง client ที่ค่อนข้างใช้ระยะเวลานานก่อนที่จะมีการใช้งาน

  1. SSL และ TLS

SSL ย่อมาจาก Secure Sockets Layer และ TLS ย่อมาจาก Transport Layer Security ทั้งสองสิ่งนี้ทำงานรวมกันเป็นโปรโตคอลเดียวกันเพื่อนำมาใช้สร้างการเชื่อมต่อ VPN ซึ่งการเชื่อมต่อ VPN นี้จะมีเว็บบราวเซอร์เป็น client และผู้ใช้จะถูกจำกัดการเข้าถึงอยู่เพียงแค่แอพพลิเคชั่นบางตัวเท่านั้นแทนที่จะเป็นทั้งเครือข่าย โปรโตคอล SSL และ TLS จะถูกนำมาใช้โดยเว็บไซต์ขายของออนไลน์และผู้ให้บริการต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่  โดย SSL และ TSL VPN จะสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยจากบราวเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณไปยังเซิฟเวอร์ของแอพพลิเคชั่น ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะสามารถสลับไปใช้ SSL ได้อย่างง่ายดายและผู้ใช้ไม่ต้องทำการปรับเปลี่ยนค่าใด ๆ อีกทั้งเว็บบราวเซอร์ได้มี SSL และ TSL มาพร้อมอยู่ภายในแล้ว การเชื่อมต่อ SSL จะมี https ในส่วนเริ่มต้นของ URL แทนที่จะเป็น http

  1. MPLS VPN

Multi-Protocol Label Switching หรือ MPLS VPN เป็น VPN ที่เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อประเภท Site-to-Site เนื่องจาก MPLS มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้มากที่สุด MPLS เป็นมาตรฐานที่อ้างอิงจากทรัพยากรที่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการส่ง packet ด้วยโปรโตคอลที่หลากหลาย MPLS VPN คือระบบ ISP-tuned VPN ซึ่งหมายความว่าเมื่อมีเว็บไซต์มากกว่า 2 แห่งทำการเชื่อมต่อกับเพื่อทำให้เกิด VPN ที่ใช้ ISP เดียวกัน อย่างไรก็ตามข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของการใช้ MPLS VPN คือความยากในการตั้งค่าระบบที่มีมากกว่าi VPN อื่น ๆ นอกจากนี้การทำการปรับเปลี่ยนต่าง ๆ ยังไม่ง่ายอีกด้วย ดังนั้น MPLS VPN โดยรวมจะมีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่า

  1. VPN ลูกผสม

VPN ลูกผสมจะรวม MPLS และ internet protocol security หรือ IPsec ของ VPN เข้าไว้ด้วยกัน ถึงแม้ว่า VPN ทั้งสองประเภทนี้จะถูกใช้แยกจากกันในพื้นที่ที่ต่างกัน แต่ก็สามารถนำโปรโตคอลทั้งสองนี้มาใช้ในที่เดียวกันโดยใช้ IPsec VPN เป็นตัวสำรองให้กับ MPLS VPN

IPsec VPNs คือ VPN ที่ต้องใช้อุปกรณ์บางตัวในฝั่งของลูกค้าตามที่ได้เคยกล่าวไปแล้ว อุปกรณ์นี้จะอยู่ในรูปของเราท์เตอร์หรืออุปกรณ์ด้านความปลอดภัยอเนกประสงค์ โดยข้อมูลจะถูกเข้ารหัสและถูกสร้างขึ้นเป็นอุโมงค์ VPN ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน MPLS VPNs จะถูกใช้โดยผู้ให้บริการโดยใช้อุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่ายของผู้ให้บริการ

เพื่อที่จะทำการเชื่อมต่อ VPN ทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน จะต้องมีการตั้งเกทเวย์เพื่อกำจัดอุโมงค์ IPsec ที่ด้านหนึ่งและใช้ MPLS VPN ในอีกด้านหนึ่งในขณะที่ยังคงรักษาความปลอดภัยตามที่ VPN ควรจะมี

VPN ลูกผสมถูกใช้โดยบริษัทต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากการใช้ MPLS สำหรับเว็บไซต์ของพวกเขาอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับเว็บไซต์ของพวกเขา นอกจากนี้ MPLS ยังมีข้อดีจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตสาธารณะ ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายจะค่อนข้างสูงก็ตาม ดังนั้นการใช้ VPN จะให้คุณสามารถเข้าถึงพื้นที่ส่วนกลางผ่านทางไกลได้ โดยภาพรวมแล้ว VPN แบบลูกผสมจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าแต่จะมีความยืดหยุ่นที่มากยิ่งกว่าเช่นกัน

บทสรุป

การตัดสินใจเลือก VPN ที่เหมาะสมสำหรับคุณมากที่สุดอาจเป็นเรื่องที่ยาก เพื่อที่จะเป็นการตัดสินว่า VPN ใดที่เหมาะสำหรับคุณนั้น อย่างแรกคือการดูที่ประเภทของการรักษาความปลอดภัยที่คุณต้องการ การเลือก VPN ของคุณจะขึ้นอยู่กับตัวคุณเองเช่นกัน เช่น การเป็นนักเรียน, เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก, หรือมีสำนักงานหลายแห่ง แนวความคิดอีกอย่างหนึ่งที่คุณควรพิจารณาคือระดับของความปลอดภัยที่คุณต้องการ เช่น ต้องการความปลอดภัยระดับปกติหรือซับซ้อนเหมือนกับ VPN แบบลูกผสม ค่าใช้จ่ายก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเช่นกัน คุณพร้อมที่จะจ่ายเท่าไหร่สำหรับการทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตของคุณให้มีความปลอดภัย? เมื่อคุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้ว การเลือกประเภทของ VPN ที่เหมาะสมสำหรับคุณจะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น อีกแนวทางหนึ่งที่อาจเป็นประโยชน์คือการลองค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ของให้คุณโชคดี!

ex_goldลองดู VPN ในอันดับต้น ๆ แบ่งตามแบรนด์ และดูว่าผู้ใช้งานเช่นคุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับ VPN เหล่านี้

พวกเราจัดอันดับผู้ให้บริการตามการทดสอบและการค้นคว้าอย่างเข้มงวด แต่ก็จะมีการคำนึงถึงความคิดเห็นของคุณและค่าคอมมิชชั่นจากผู้ให้บริการด้วย ผู้ให้บริการบางรายนั้นจะมีบริษัทแม่แห่งเดียวกันกับพวกเรา
เรียนรู้เพิ่มเติม
vpnMentor ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2014 ในฐานะเว็บไซต์รีวิวบริการ VPN อย่างอิสระและเว็บไซต์ข่าวเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัว วันนี้ ทีมงานนักวิจัยความปลอดภัยทางไซเบอร์, นักเขียน และบรรณาธิการนับร้อยของพวกเราได้ช่วยผู้อ่านให้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์ผ่านการจับมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้: ExpressVPN, CyberGhost และ Private Internet Access ซึ่งอาจจะได้รับการจัดอันดับและรีวิวบนเว็บไซต์ของเราด้วย รีวิวที่ได้รับการเผยแพร่บน vpnMentor นั้นมีความแม่นยำถึงวันที่ทำการเผยแพร่ และแต่ละรีวิวก็จะถูกเขียนขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานที่เข้มงวดด้านการรีวิวซึ่งจะเน้นความเป็นอิสระและการค้นคว้าวิจัยอย่างซื่อสัตย์และเป็นมืออาชีพของนักรีวิว โดยจะเน้นไปถึงความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์รวมถึงความคุ้มค่าที่มันมีต่อผู้ใช้งาน การจัดอันดับและรีวิวที่พวกเราเผยแพร่นั้นอาจจะคำนึงถึงการเป็นเจ้าของเดียวกันที่กล่าวถึงด้านบน และค่าคอมมิชชั่นที่พวกเราได้รับในกรณีที่มีการสั่งซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเราด้วย พวกเราไม่ได้ทำการรีวิวผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมด และข้อมูลที่เผยแพร่นั้นจะมีความแม่นยำถึงวันที่เผยแพร่แต่ละบทความ

เกี่ยวกับผู้เขียน

คริสติน่า เปรูนิชิชเป็นอดีตบรรณาธิการอาวุโสของ vpnMentor เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีความสนใจในด้าน VPN และความเป็นส่วนตัวบนอินเตอร์เน็ต