พวกเราจัดอันดับผู้ให้บริการตามการทดสอบและการค้นคว้าอย่างเข้มงวด แต่ก็จะมีการคำนึงถึงความคิดเห็นของคุณและค่าคอมมิชชั่นจากผู้ให้บริการด้วย ผู้ให้บริการบางรายนั้นจะมีบริษัทแม่แห่งเดียวกันกับพวกเรา
เรียนรู้เพิ่มเติม
vpnMentor ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบบริการ VPN และวิจารณ์ด้านความเป็นส่วนตัว ในวันนี้ทีมนักวิจัย นักเขียนและบรรณาธิการด้านความปลอดภัยอินเตอร์เน็ตของเราหลายร้อยคนยังคงช่วยเหลือผู้อ่านต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์โดยร่วมมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้: Holiday.com, ExpressVPN, CyberGhost, Private Internet Access และ Intego ซึ่งอาจได้รับการวิจารณ์บนเว็บไซต์นี้ บทวิจารณ์ที่เผยแพร่บน vpnMentor เชื่อว่ามีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความและเขียนขึ้นตามมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มงวดของเรา ซึ่งจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบผู้ตรวจสอบอย่างมืออาชีพและซื่อสัตย์ โดยคำนึงถึงความสามารถทางเทคนิคและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ร่วมกับมูลค่าทางการค้าสำหรับผู้ใช้ การจัดอันดับและบทวิจารณ์ที่เราเผยแพร่อาจคำนึงถึงความเป็นเจ้าของร่วมกันกับบริการที่กล่าวถึงข้างต้นและค่าคอมมิชชั่นพันธมิตรที่เราได้รับจากการซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราไม่ได้ตรวจสอบผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมดและเชื่อว่าข้อมูลที่จะมีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความ
การเปิดเผยข้อมูลการโฆษณา

vpnMentor ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบบริการ VPN และวิจารณ์ด้านความเป็นส่วนตัว ในวันนี้ทีมนักวิจัย นักเขียนและบรรณาธิการด้านความปลอดภัยอินเตอร์เน็ตของเราหลายร้อยคนยังคงช่วยเหลือผู้อ่านต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์โดยร่วมมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้: Holiday.com, ExpressVPN, CyberGhost, Private Internet Access และ Intego ซึ่งอาจได้รับการวิจารณ์บนเว็บไซต์นี้ บทวิจารณ์ที่เผยแพร่บน vpnMentor เชื่อว่ามีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความและเขียนขึ้นตามมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มงวดของเรา ซึ่งจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบผู้ตรวจสอบอย่างมืออาชีพและซื่อสัตย์ โดยคำนึงถึงความสามารถทางเทคนิคและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ร่วมกับมูลค่าทางการค้าสำหรับผู้ใช้ การจัดอันดับและบทวิจารณ์ที่เราเผยแพร่อาจคำนึงถึงความเป็นเจ้าของร่วมกันกับบริการที่กล่าวถึงข้างต้นและค่าคอมมิชชั่นพันธมิตรที่เราได้รับจากการซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราไม่ได้ตรวจสอบผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมดและเชื่อว่าข้อมูลที่จะมีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความ

ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบิทคอยน์ (Bitcoin) ที่จะไม่ทำให้คุณหงุดหงิด

แฮช มัวร์ยา ผู้เชี่ยวชาญเทคนิคอาวุโส

คุณเคยได้ยินเรื่องบิทคอยน์ไหม?

นี่แทบจะเป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เนื่องจากบิทคอยน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากและก็ได้รับการกล่าวถึงอย่างไม่มีสิ้นสุดตามสื่อต่างๆ อย่างไรก็ตามนั่นไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะเข้าใจว่ามันคืออะไร

ความจริงแล้วคนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ เหตุผลหลักก็เป็นเพราะธรรมชาติของเทคโนโลยีที่อยู่เบื้อหลังบิทคอยน์ที่มีความซับซ้อนทางเทคนิค ซึ่งทำให้ฟังดูน่ากลัว

ุดประสงค์ของคู่มือนี้คือการอธิบายรายละเอียดของแนวคิดเกี่ยวกับบล็อคเชน (Blockchain) และบิทคอยน์ให้ลักษณะที่เข้าใจง่าย คู่มือนี้มีความยาวมากเราจึงแบ่งคู่มือนี้ออกเป็นส่วนๆ

แนวคิดของบิทคอยน์และบล็อคเชนนั้นมีศัพท์เฉพาะมากมาย คุณสามารถดูคำแปลของคำศัพท์เหล่านี้ได้ที่ด้านล่างนี้

1. บิทคอยน์มีความเป็นมาอย่างไร

A. ใครเป็นผู้คิดค้น บิทคอยน์?

บิทคอยน์ได้รับการคิดค้นขึ้นมาโดยบุคคลนิรนามที่มีนามแฝงว่า ซาโตชิ นากาโมโตะ ในเดือนตุลาคม ปี 2008 เขาได้ตีพิมพ์เอกสารและเผยแพร่ไปทั่วชุมชนของผู้ที่ศึกษาวิทยาการเข้ารหัสลับ

ในปี 2009 นากาโมโตะได้เขียนโค้ดสำหรับซอฟต์แวร์บิทคอยน์และก็ได้เชิญคนอื่นจากชุมชน open source ให้เข้ามามีส่วนร่วม

เขาได้ขุดบล็อคแรกในวันที่ 3 มกราคม 2009 และจากบันทึกสาธารณะเกี่ยวกับบิทคอยน์ของเขา เขามีบิทคอยน์มูลค่ากว่า 19 ล้านล้านดอลล่าร์ ทำให้เขาเป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับ 44 ของโลก

แต่ไม่มีใครทราบว่าซาโตชิ นากาโมโตะคือใคร มีการสืบสาวโดยนักข่าวหลายคนและก็มีการสันนิษฐานว่าเขาเป็นนักศึกษาหรือคนดังหลายๆคน แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์อะไร และนี่อาจฟังดูตลกแต่มีบางคนที่กล่าวว่าซาโตชิ นากาโมโตะเป็นนักเดินทางข้ามเวลามาจากอนาคต

แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องมีการถกเถียงกันก็คือ ซาโตชิ นากาโมโตะได้ปฏิวัติแนวคิดเกี่ยวกับเงิน และแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในการใช้งานสกุลเงินแบบดั้งเดิม

B. ปัญหาของสกุลเงินแบบดั้งเดิม

เราทุกคนรู้วิธีถอนเงินจากตู้เอทีเอ็มและวิธีซื้อหมากฝรั่งหนึ่งห่อ แต่มีกี่คนที่รู้ว่าทำไมธุรกรรมเหล่านี้ถึงเป็นที่ยอมรับ ทำไมทุกคนถึงยอมรับว่าแผ่นโลหะและแผ่นกระดาษเหล่านี้มีค่า?

ในตอนแรก สกุลเงินนั้นถูกผูกไว้กับสินค้าโภคภัณฑ์ทางกายภาพบางอย่าง เช่น ทองคำ ตัวอย่างเช่น ในปี 1900 ทองคำมีค่า $20.67 ต่อออนซ์ นั่นหมายความว่ารัฐบาลสหรัฐฯสามารถผลิตเหรีญกษาปณ์ได้มูลค่า $20.67 หากมีทองหนึ่งออนซ์ในคลังสำรองเพื่อสำรองไว้ นอกจากนี้ยังหมายความว่าผู้ที่ถือสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯสามารถนำเงินไปแลกเป็นทองกับรัฐบาลได้

ในสหรัฐฯ ระบบนี้สิ้นสุดลงในปี 1971 เมื่อสกุลเงินดอลล่าร์อเมริกากลายเป็นเงินกระดาษ (Fiat Currency) - ซึ่งหมายความว่ามันไม่มีมูลค่าในตนเอง ช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ สกุลเงินหลักทั้งหมดในโลกได้รับการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบนี้ (Fiat System)

ในกรณีนี้ มูลค่าของเงินจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทาน และยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความเชื่อมั่นต่อเศรษกิจของประชาชน และแม้ว่าระบบนี้จะช่วยให้รัฐบาลสามารถส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจผ่านการควบคุมต่าง ๆ เช่น การจัดหาสินเชื่อ, สภาพคล่อง และอัตราดอกเบี้ย แต่ก็อาจทำให้รัฐบาล พิมพ์เงินออกมามากเกินกว่าที่คร ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ

อีกปัญหาของการใช้ระบบนี้ก็คือความจริงที่ว่ามันเป็นระบบที่มีการรวมอำนาจไว้ที่จุดศูนย์กลางซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการออกกฎระเบียบควบคุมจำนวนมาก กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการทำธุรกรรมแต่ละครั้งจะต้องได้รับการอำนวยความสะดวกโดยองค์กรทางการเงิน - เช่น บริษัทบัตรเครดิตหรือธนาคาร - เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกรรมนั้นถูกต้อง นั่นเป็นเหตุผลที่คุณมักจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมจากตู้เอทีเอ็มที่ไม่ใช่ของธนาคารของคุณ หรือเมื่อคุณโอนเงินจากบัญชีของคุณไปให้เพื่อน

คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับสกุลเงินแบบกระจายอำนาจ ได้จากบทความน

C. บิทคอยน์แก้ปัญหาของสกุลเงินแบบรวบรวบอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง

บิทคอยน์มีจุดประสงค์ในการแก้ปัญหาของเงินกระดาษ (Fiat Currencies)

เมื่อใช้บิทคอยน์ คุณจะสามารถโอนเงินไปให้ใครก็ตามได้ภายในไม่กี่วินาทีด้วยค่าธรรมเนียมที่ถูกที่สุด ซึ่งมันเป็นไปได้เพราะว่าระบบบิทคอยน์นั้นเป็นระบบกระจายอำนาจ

สาระสำคัญก็คือบิทคอยน์เป็นบัญชีแบบแยกกระจายซึ่งธุรกรรมทางการเงินต่างๆถูกบันทึกไว้บนบัญชีเหล่านี้ บัญชีแบบแยกนี้ดำเนินการโดยเทคโนโลยีที่เรียกว่าบล็อคเชน โดยแต่ละบล็อคบนบล็อคเชนนั้นเป็นตัวแทนของธุรกรรมต่างๆ และเมื่อมีการทำธุรกรรมเกิดขึ้น บล็อคนั้นก็จะสมบูรณ์และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

บิทคอยน์ต้องแก้ปัญหาหลายข้อผ่านการใช้บัญชีสาธารณะนี้:

  1. ความไม่มีศูนย์กลาง: คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของบิทคอยน์คือการที่มันไม่ศูนย์กลาง ซึ่งหมายความว่ามันไม่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานหรือบุคคลใด โดยโค้ดของซอฟต์แวร์เป็นแบบ open-sourced และได้รับการบำรุงรักษาโดยอาสาสัคร โดยเป็นระบบที่ดำเนินการโดยเครือข่ายแบบเปิดของคอมพิวเตอร์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าใครก็ตามที่ต้องการมีส่วนร่วมก็สามารถเข้าร่วมได้
  2. ความไม่ระบุตัวตน: บิทคอยน์ต่างจากระบบการเงินแบบดั้งเดิม เนื่องจากซอฟต์แวร์บิทคอยน์ไม่ต้องการทราบว่าคุณเป็นใคร อัตลักษณ์ของคุณคือที่อยู่บิทคอยน์ของคุณ ความสามารถในการทำธุรกรรมของคุณขึ้นอยู่กับว่าคุณมีเงินในบัญชีเพียงพอหรือไม่เท่านั้น
  3. ความเปลี่ยนแปลงไม่ได้: เครือข่ายบิทคอยน์และ บล็อคเชนที่อยู่เบื้องหลังนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได ซึ่งหมายความว่า เมื่อทำธุรกรรมไปแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับได้ ซึ่งทำให้แน่ใจว่าผู้รับเงินจะได้รับเงินจริงๆ บางคนอาจจะคิดว่านี่อาจจะเป็นปัญหาสำหรับ ecommerce เนื่องจากผู้ซื้อจะต้องได้รับการคุ้มครอง อย่างไรก็ตามกรณีนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยบัญชี escrow ซึ่งสามารถใช้กับบิทคอยน์ได้
  4. มีอุปทานจำกัด: เงินกระดาษแบบดั้งเดิมนั้นสามารถพิมพ์ออกมาได้ไม่จำกัด เนื่องจากธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินออกมาได้ตามที่ต้องการ แต่บิทคอยน์มีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านหน่วยเท่านั้น มูลค่าของสกุลเงินนี้จึงขึ้นอยู่กับอุปสงค์และประโยชน์ตามที่ผู้คนคิด

ตอนนี้มาเจาะลึกและเข้าใจเทคโนโลยีบิทคอยน์กัน เราจะกล่าวถึงปัญหาของการสร้างสกุลเงินที่ไม่มีศูนย์กลางและดูว่าบิทคอยน์แก้ปัญหาอย่างนี้อย่างไร

2. โปรโตคอลบิทคอยน

A. บิทคอยน์ยืนยันตัวตนผู้ใช้งานด้วยลายเซนต์ดิจิตอล

เมื่อคุณไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร คุณจะต้องยืนยันตัวตนของคุณ คุณสามารถยืนยันได้ด้วยใบขับขี่ บัตรประกันสังคม หรือลายเซนต์ แต่ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม กลไกเหล่านี้มีขึ้นเพื่อให้คุณสามารถเป็นคนถอนหรือฝากเงินได้เท่านั้น หากมีคนที่พยายามปลอมตัวเป็นคุณ​ เขาก็จะถูกจับได้ (เราหวังว่าอย่างนั้น)

และตามที่ได้อธิบายไปแล้ว บิทคอยน์มีสมุดบัญชีสาธารณะที่ทุกคนบันทึกธุรกรรมของพวกเขาลงไป แล้วสิ่งที่ทำให้ผู้คนไม่สามารใส่ธุรกรรมปลอมที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขาลงไปคืออะไรล่ะ? ตัวอย่างเช่น บ็อบสามารถบันทึกลงไปได้ว่าอลิซโอนเงินให้

เขา เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ธุรกรรมต่างๆจะถูกกระจายไปบนเครือข่ายพร้อมกับ ลายเซนต์ดิจิตอล

ลายเซนต์ดิจิตอลทำให้แน่ใจว่า:

  1. ข้อความถูกส่งโดยผู้ส่งที่กำหนด
  2. ข้อความไม่ถูกดัดแปลง

ลายเซนต์ดิจิตอลนี้ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยอัลกอรึทึ่มแบบ Hash และการเข้ารหัสแบบไม่สมมาตร

Hashing คือการใช้อัลกอรึทึ่มที่ไม่สามารถย้อนกลับได้มาแปลงข้อมูลเป็นผลผลิตที่มีความยาวที่ถูกกำหนดไว้แล้ว โดยอัลกอริทึ่มแบบ Hashing ที่บิทคอยน์ใช้คือ SHA256 ซึ่งหมายความว่าผลผลิต - หรือที่รู้จักกันว่า hash หรือ digest นั้น - เป็นตัวเลขไบนารี่ 256 หลัก (เลขศูนย์และหนึ่ง)

คุณสามารถเทียบได้ว่า hashing คือเทคนิคทางคณิตศาสตร์ที่ทำให้คุณเปลี่ยนข้อมูลเข้าเป็นผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ค่าของผลผลิตมาแล้ว ในทางปฏิบัตินั้นเป็นไปไม่ได้เลยที่จะทราบค่าของข้อมูลเข้าที่ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตนี้

วิธีการในการเปรียบเทียบสิ่งนี้ก็คือ เมื่อคุณใส่แป้ง น้ำตาล ไข่ ฯลฯ ลงไป คุณจะได้ผลผลิตเป็นเค้ก แต่คุณไม่สามารถเปลี่ยนมันกลับไปเป็นวัตถุดิบเหล่านั้นได้ และก็เป็นไปไม่ได้ที่จะทราบว่าเค้กก้อนนั้นประกอบไปด้วยวัตถุดิบอะไรบ้าง และใส่แต่ละอย่างลงไปเท่าไหร่

สำหรับการสร้างลายเซนต์ดิจิตอลนั้น ข้อความที่จะเผยแพร่ไปยังเครือข่ายจะต้องถูก hash ก่อน จากนั้น hash ที่ได้มาก็จะต้องถูกเข้ารหัส

ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การเข้ารหัสที่ใช้ในบิทคอยน์เป็นการเข้ารหัสแบบไม่สมมาตร - ซึ่งเป็นการเข้ารหัสประเภทหนึ่งที่ใช้ทั้งกุญแจสาธารณะ (public keys) และกุญแจส่วนตัว (private keys)

วิธีการทำงานก็คือ ทุกๆคนจะมีกุญแจสาธารณะและกุญแจส่วนตัวที่สอดคล้องกัน แม้ว่ากุญแจทั้งสองแบบนี้จะสามารถถอดรหัสข้อความได้ แต่หากต้องการถอดรหัสข้อความ จะต้องใช้กุญแจอีกอัน กล่าวคือ หากคุณเข้ารหัสข้อความด้วยกุญแจสาธารณะ คุณจะต้องถอดรหัสด้วยกุญแจส่วนตัว หรือในทำนองกลับกัน

กุญแจส่วนตัวเป็นของส่วนบุลคลและคนอื่นจะไม่สามารถเข้าถึงกุญแจนี้ได้ ในทางตรงกันข้าม คุณสามารถมอบกุญแจสาธารณะของคุณให้ใครก็ได้ เช่น หากอลิซต้องการส่งข้อความส่วนตัวให้บ็อบ อลิซเข้ารหัสข้อความด้วยกุญแจสาธารณะของบ็อบที่บ็อบให้เธอมา และเนื่องจากบ็อบเป็นคนเดียวที่มีกุญแจส่วนตัวของเขา เขาจึงเป็นคนเดียวที่สามารถถอดรหัสข้อความนั้นได้ หากบ็อบต้องการส่งข้อความให้อลิซ เข้าก็จะต้องเข้ารหัสข้อความนั้นด้วยกุญแจสาธารณะของอลิซ​ และก็มีเพียงอลิซเท่านั้นที่สามารถถอดรหัสข้อความนั้นได้ด้วยกุญแจส่วนตัวของเธอ

แต่สำหรับบิทคอยน์นั้น จุดประสงค์หลักไม่ใช่การส่งข้อความส่วนตัว - เนื่องจากสมุดบัญชีเป็นสาธารณะ
อย่างไรก็ตาม การเข้ารหัสแบบไม่สมมาตรนี้ก็ยังมีจุดประสงค์ในการทำให้แน่ใจว่าข้อความนั้นถูกส่งโดยคนใดคนหนึ่งและไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง

เช่น หากอลิซต้องการส่งบิทคอยน์ให้บ็อบ อลิซจะต้องส่งสองสิ่งไปยังเครือข่าย:

  1. ข้อความ (ที่มีรายละเอียดธุรกรรม) ธุรกรรมยังไม่ได้ถูกเข้ารหัสและมีลิ้งค์ไปยังธุรกรรมก่อนหน้า และยังมีค่าข้อมูลเข้าและผลผลิตที่จะช่วยให้ดูได้ว่ามีเงินในบัญชีเพียงพอต่อการทำธุรกรรมหรือไม่
  2. ลายเซนต์ดิจิตอล (หรือก็คือข้อความที่ได้รับการ hash แล้วที่อลิซได้เข้ารหัสด้วยกุญแจส่วนตัวของเธอ)

จากนั้นบ็อบก็ยืนยันธุรกรรมนั้นได้โดย:

  1. ใช้อัลกอรึทึ่ม hash กับข้อความนั้น ซึ่งเขาจะได้รับ Hash A
  2. ถอดรหัสลายเซนต์ดิจิตอลที่อลิซสร้างขึ้นโดยใช้กุญแจสาธารณะของอลิซ ซึ่งเขาก็จะได้ Hash B

เนื่องจาก Hash ทั้งสองมาจากข้อความเดียวกันจึงควรจะเหมือนกัน และหากมันเหมือนกัน ก็หมายความว่ามันพิสูจน์ว่าข้อความนั้นไม่ถูกดัดแปลง และเนื่องจากบ็อบสามารถถอดรหัสข้อความด้วยกุญแจสาธารณะของอลิซ และอลิซก็เป็นคนเดียวที่เข้าถึงกุญแจส่วนตัวของเธอได้ จึงแน่ใจได้ว่าข้อความนั้นมาจากอลิซ​

B. บิทคอยน์เก็บข้อมูลอย่างไร

ปัญหาอีกข้อที่อาจเกิดขึ้นได้กับระบบแบบไม่มีศูนย์กลางอย่างบิทคอยน์คือการเก็บข้อมูล

เราจะเก็บยอดเงินในบัญชีและประวัติการทำธุรกรรมของทุกๆคนไว้ที่ไหน?

ในระบบส่วนกลางนั้น มีเซิร์ฟเวอร์ของสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร เป็นที่เก็บข้อมูล และถึงแม้ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่เป็นความลับอย่างสูงและควรมีความปลอดภัย แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา ได้มีเหตุการที่แฮคเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้

ในระบบบิทคอยน์นั้น ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่มีอำนาจในการควบคุมข้อมูล แต่ข้อมูลทุกอย่างเป็นสาธารณะ

บิทคอยน์ทำงานด้วยเครือข่ายที่กระจายแบบ peer-to-peer โดยข้อมูลจะถูกกระจายไปตามคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมนับพัน หรือเป็นที่รู้จักกันว่า nodes ซึ่งเชื่อมต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ต โดย node แต่ละตัวจะสามารถเข้าถึงสมุดบัญชี (หรือบล็อคเชน) ซึ่งได้รับการอัพเดตทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมใหม่ (หรือบล็อค) เพิ่มเข้ามา

ธุรกรรมเหล่านี้ดำเนินการตามกฎระเบียบที่เรียกว่าโปรโตคอลบิทคอยน์

C. ธุรกรรมดำเนินการอย่างไร

สมมติว่าอลิซต้องการส่งหนึ่งบิทคอยน์ให้บ็อบ

ขั้นแรกเราจะต้องยืนยันก่อนว่าอลิซมีหนึ่งบิทคอยน์จริงๆ ในเครือข่ายบล็อคเชน คุณจะไม่สามารถดูได้ว่าใครคนใดคนหนึ่งมีบิทคอยน์อยู่เท่าไหร่ แต่สามารถคำนวนได้โดยการคำนวณธุรกรรมที่ผ่านมาทั้งหมดหรือที่เรียกกันว่าห่วงโซ่ธุรกรรม (transaction chain)

เมื่อคุณดาวน์โหลดซอฟต์แวร์บิทคอยน์เป็นครั้งแรก คุณจะได้รับสำเนาของห่วงโซ่ธุรกรรม (ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมการดาวน์โหลดอาจใช้เวลานานถึง 24 ชั่วโมง) เมื่อคุณมีห่วงโซ่ธุรกรรมแล้ว ก็สามารถดูยอดเงินของอลิซได้

เมื่อได้รับการยืนยันแล้วว่าอลิซมีบิทคอยน์เพียงพอที่จะทำธุรกรรมได้ ขั้นตอนถอดไปก็คือการส่งข้อความธุรกรรม ข้อความเหล่านี้ประกอบไปด้วยที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ, จำนวนที่โอน และลายเซนต์ดิจิตอลที่ผู้ส่งสร้างขึ้นมา เมื่อส่งข้อความเป็นสาธารณะแล้ว node ใดๆในเครือข่ายสามารถส่งข้อความต่อและรับข้อความเหล่านั้นเพื่อดำเนินการได้

ก่อนที่จะดำเนินการ ธุรกรรมจะถูกนำไปรวมกับธุรกรรมอื่นๆที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน หรือที่รู้จักในชื่อว่า mempool (มาจาก memory pool) จากนั้นก็จะมีผู้ขุดขึ้นมา

ผู้ขุดเหล่านี้เป็นผู้ดูแลและทำธุรกรรม โดยผู้ขุดจะเพิ่มธุรกรรมนี้ไปยังบล็อคใหม่ล่าสุด และแต่ละบล็อคจะมีขนาดจำกัด ดังนั้นเมื่อมีธุรกรรมจำนวนหนึ่งแล้วจะต้องสร้างบล็อคใหม่ขึ้นมา บล็อคปัจจุบันจะเชื่อมต่อกับบล็อคก่อนหน้า ทำให้เกิดเป็นบล็อคเชน

แล้วใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าธุรกรรมใดจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อคล่าสุด?

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ขุดสามารถเลือกได้ว่าจะเลือกหรือทิ้งธุรกรรมใด และคุณสามารถสร้างแรงจูงใจให้พวกเขาเลือกธุรกรรมของคุณได้โดยการจ่ายส่วนเล็กๆของธุรกรรมให้พวกเขาได้ อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เนื่องจากผู้ขุดมีแรงจูงใจในการสร้างบล็อคอยู่แล้ว หรือ รางวัลบล็อค (block reward)

เมื่อมีการเพิ่มบล็อคใหม่เข้าไปในห่วงโซ่ ผู้ขุดที่ส่งบล็อคนี้จะได้รับบิทคอยน์ใหม่ โดยจำนวนที่ได้รับนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและลดน้อยลงเรื่อยๆเมื่อเครือข่ายเติบโตขึ้น รางวัลบล็อคนั้นเป็นวิธีการทางธรรมชาติในการผลิตเงินใหม่ออกมา

เมื่อธุรกรรมกลายเป็นส่วนหนึ่งของบล็อคเชนก็จะได้รับการดำเนินการโดยอัตโนมัติ

D. บล็อคได้รับการยืนยันอย่างไร

ด้านบนเราได้พูดถึงเรื่องวิธีการที่ธุรกรรมที่ได้รับการยืนยันถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อค ซึ่งจะถูกเพิ่มเข้าไปในบล็อคเชนที่มีอยู่แล้ว แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าธุรกรรมใหม่นั้นถูกต้อง?

ผู้ขุดจะต้องทำการิสูจน์การทำงาน (proof-of-work)

โดยพื้นฐานแล้วการพิสูจน์การทำงานนั้นเป็นแนวคิดที่ว่าเวอร์ชั่นของสมุดบัญชีที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือสมุดบัญชีที่ผ่านการทำงานทางคอมพิวเตอร์มาเยอะที่สุด สำหรับการพิสูจน์การทำงานนั้นจะต้องมีข้อมูลที่ยากและใช้เวลาในการสร้างนานแต่ต้องสามารถยืนยันได้ง่ายและรวดเร็ว

ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้เทคนิคการ hash ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในส่วนของลายเซนต์ดิจิตอล
หากคุณจำได้ hash นั้นสร้างขึ้นมาด้วยอัลกอรึทึ่มที่จะเปลี่ยนข้อมูลเข้าเป็นผลผลิตที่มีความยาวที่ถูกกำหนดไว้แล้ว

ในขั้นตอนนี้ ผู้ขุดจะต้องแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อจะเพิ่มบล็อคเข้าไปยังบล็อคเชนที่มีอยู่แล้วและปัญหานี้จะต้องใช้เวลาในการแก้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหานี้คือการเดาข้อมูลเข้าที่จะออกมาเป็น hash ที่ขึ้นต้นจำนวนเลขศูนย์จำนวนหนึ่ง

นี่คือวิธีการทำงาน:

สมมติว่าผู้ขุดกำลังทำงานอยู่บนบล็อคหนึ่ง ด้านบนสุดของบล็อคจะมี hash ของบล็อคก่อนหน้าบนบล็อคเชน ซึ่งภายใต้ hash นั้นก็มีธุรกรรมทั้งหมดที่ผู้ขุดได้เลือกขึ้นมา
และข้างใต้ลงไปอีก ผู้ขุดจะเพิ่มตัวเลขเข้าไป เรียกว่า nonce จากนั้นก็จะทำอัลกอริทึ่มแบบ hash บนบล็อคทั้งหมด

ดังที่กล่าวไปแล้ว จุดประสงค์ของผู้ขุดคือการหา hash ที่ขึ้นต้นด้วยเลขศูนย์จำนวนหนึ่ง และหากคุณยังจำได้ หากข้อมูลเข้าเปลี่ยนเพียงนิดเดียว ผลผลิตที่ออกมาก็จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งหมายความว่าการจะได้จำนวนเลขศูนย์ที่ถูกต้องนั้น ผู้ขุดจะต้องใส่เลขเฉพาะลงไปข้างล่าง แล้วเขาจะทราบได้อย่างไรว่าจะต้องใส่เลขอะไรลงไป?

เขาไม่ทราบ

เขาไม่มีทางเลือกนอกจากเดาสุ่มตัวเลือกที่แตกต่างกันไปจนเจอ hash ที่ถูกต้อง ผู้ขุดคนไหนก็ตามที่หาเจอก่อนก็จะได้เพิ่มบล็อคของเขาเข้าไปในบล็อคเชน

และตามโปรโตคอลบิทคอยน์แล้ว กระบวนการทั้งหมดนี้ควรใช้เวลาประมาณ 10 นาที และเนื่องจากมีผู้ขุดใหม่ๆที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีกำลังแตกต่างกัน และจำนวนเลขศูนย์ที่ต้องการก็จะเปลี่ยนไปเป็นระยะๆ

กระบวนการนี้ไม่เพียงอนุญาตให้เพิ่มบล็อคใหม่เข้าไปบนบล็อคเชนเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือทำให้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของระบบทั้งหมด

ทำได้อย่างไร?

แต่ละบล็อคจะมี hash ของบล็อคสุดท้ายอยู่บนสุด และหากมีการเปลี่ยนแปลงในธุรกรรมแม้แต่เพียงอักษรเดียว ไม่เพียงแต่ hash ของบล็อคจะเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ทุกๆบล็อคในห่วงโซ่จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด

ซึ่งหมายความว่าหากมีใครคนใดคนหนึ่งต้องการเปลี่ยนธุรกรรม เขาจะต้องคำนวณทุกๆบล็อคที่อยู่ก่อนหน้าทั้งหมดซึ่งต้องใช้กำลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สูงจนเป็นไปไม่ได้ และยังหมายความว่าทุกๆครั้งที่มีการเพิ่มบล็อคใหม่เข้าไป บล็อคเชนก็จะมีความปลอดภัยสูงขึ้น

E. การพิสูจน์การทำงาน (Proof-of-Work) จะช่วยป้องกันการจ่ายซ้ำสองครั้งได้อย่างไร

สมมติว่าอลิซเปิดร้านออนไลน์ที่รับชำระเงินด้วยบิทคอยน์ และบ็อบก็มาสั่งซื้อไอโฟนจากเว็บไซต์นี้ หากบ็อบเลือกชำระเงินด้วยบิทคอยน์ อลิซก็จะต้องรอจนกว่าจะได้รับการยืนยันการชำระเงินก่อนที่จะส่งไอโฟนให้บ็อบ

แต่เนื่องจากการทำงานของบล็อคเชน บ็อบอาจจะพยายามหลอกอลิซโดยการสร้างข้อความธุรกรรมสองข้อความที่มีลายเซนต์เดียวกัน - อันหนึ่งคืออันที่เขาโอนเงินให้อลิซ และอีกอันคือที่เขาโอนให้ตัวเองไปยังอีกที่อยู่หนึ่ง

เมื่ออลิซเห็นข้อความที่โอนเงินให้เธอแล้ว อลิซก็จะจัดส่งสินค้า แต่ถ้าหากธุรกรรมที่บ็อบส่งให้ตัวเองได้ขึ้นไปอยู่บนบล็อคเชนก่อนธุรกรรมที่ส่งให้อลิซ ธุรกรรมนั้นก็จะได้รับการดำเนินการและบ็อบก็จะได้ไอโฟนฟรี

ถ้าหากอลิซฉลาด เธอก็จะไม่ส่งไอโฟนทันทีหลังจากที่ได้รับข้อความ แต่ควรจะรอจนกว่าธุรกรรมนั้นจะอยู่บนบล็อคเชนแล้ว

แต่ความจริงก็คือ วิธีนี้ก็ยังดีไม่พอ

เนื่องจากในบางครั้งอาจจะมีบล็อคที่เพิ่มเข้าไปบนบล็อคเชนมากกว่าหนึ่งบล็อคในเวลาเดียวกัน ทำให้บล็อคเชนแบ่งเป็นส้อมที่มีสองแขนง ในกรณีเหล่านี้ ผู้ขุดคนต่อไปสามารถเลือกได้ว่าจะเพิ่มบล็อคเข้าไปในแขนงใด และใช้เวลาเพียงไม่นานก็จะมีแขงนหนึ่งที่ยาวกว่าอีกแขนง และในกรณีนี้ แขนงที่สั้นกว่าก็จะถูกทิ้งและธุรกรรมทั้งหมดก็จะถูกส่งกลับไปยัง mempool

และเนื่องด้วยเหตุผลนี้จึงมีคำแนะนำว่าให้รอจนกว่าจะมีอย่างน้อยหกบล็อคที่ถูกเพิ่มเข้าไปบนบล็อคเชนก่อนที่จะถือว่าธุรกรรมนั้นสำเร็จแล้ว ธุรกรรมที่เพิ่งได้รับการเพิ่มขึ้นไปมักจะถูกเรียกว่า ธุรกรรมร้อน (hot transaction)

และตรงนี้เราก็จะเห็นว่าการพิสูจน์งาน (ซึ่งก็คือการทำงานทางคอมพิวเตอร์มากขึ้น) นั้นช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับธุรกรรม

ลองมาฟังเรื่องสมมติอีกเรื่อง: ถ้าหากบ็อบสามารถสร้างสองแขนงได้โดยที่มีหนึ่งบล็อคที่มีธุรกรรมที่ถูกต้องและอีกอันคืออันที่เป็นธุรกรรมปลอมล่ะ? และจากนั้นเขาก็เพิ่มบล็อคเข้าไปยังธุรกรรมปลอมในเวลาเดียวกับที่ผู้ขุดคนอื่นเพิ่มบล็อคเข้าไปยังธุรกรรมที่ถูกต้อง และอลิซก็เห็นว่าแขนงที่มีธุรกรรมที่ถูกต้องมีความยาวเพิ่มขึ้น ก็คิดว่าปลอดภัยจึงส่งไอโฟนไปให้บ็อบ แต่ท้ายสุดแล้วบ็อบก็ทำให้ห่วงโซ่ของเขายาวขึ้น ทำให้ธุรกรรมที่ถูกต้องนั้นถูกส่งกลับไปยัง mempool และเนื่องจากธุรกรรมนี้มีลายเซนต์เหมือนกับธุรกรรมปลอม เมื่อมีคนเลือกธุรกรรมนี้ขึ้นมาก็จะถือว่าธุรกรรมนี้เป็นความผิดพลาด

นี่เป็นสมมติฐานที่น่าสนใจและในทางทฤษฎีแล้วก็เป็นไปได้

แต่ในความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้

เนื่องจากจะต้องใช้กำลังของเครื่องคอมพิวเตอร์และเวลาในการแก้ปัญหาก่อนที่จะเพิ่มบล็อคได้ และถึงแม้จะมีเครื่องประมวลที่มีประสิทธิภาพสูง การที่จะทำสิ่งนี้บ็อบจะต้องควบคุม CPU ครึ่งหนึ่งในเครือข่ายบิทคอยน์ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบางครั้งคนถึงเรียกแนวคิดนี้ว่าการโจมตี 51%

ในความเป็นจริง แขนงที่มีธุรกรรมที่ถูกต้องจะมีความยาวมากกว่าและธุรกรรมปลอมก็จะถูกส่งกลับไปยัง mempool และเมื่อมีผู้ขุดขุดธุรกรรมนั้นขึ้นมา มันก็จะกลายเป็นธุรกรรมที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากลายเซนต์ได้ถูกใช้ไปแล้ว

กล่าวคือ ถึงแม้บ็อบจะหาทางควบคุมเครือข่ายจนได้ เวลาและทรัพยากรที่เขาจะต้องใช้โกงระบบมันก็ไม่คุ้มค่า ซึ่งการขุดตามกฎก็ยังจะได้บิทคอยน์มากกว่า

3. วิธีการใช้งานบิทคอยน์

วิธีการใช้งานบิทคอยน์มีหลายวิธี แต่ทุกๆวิธีก็มีกระบวนการเดียวกัน โดยมีสามขั้นตอนในการใช้บิทคอยน์: การซื้อบิทคอยน์, การจัดการกระเป๋าสตางค์, และการใช้บิทคอยน์ซื้อสินค้าและบริการ มาดูแต่ละขั้นตอนกันเลย:

A. การซื้อบิทคอยน์

นอกจากการขุดบิทคอยน์แล้ว (ที่เราได้พูดถึงในส่วนที่ 2) คุณยังสามารถซื้อบิทคอยน์ได้ด้วย โดยสามารถซื้อขายออนไลน์หรือการทำธุกรรมแบบ

Over The Counter (OTC)
ธุรกรรมแบบ OTC คือการซื้อขายกับอีกฝ่ายโดยตรง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะทำการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ที่จะทำการจัดการและต่อรอง
นี่เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการซื้อบิทคอยน์จำนวนมาก (มูลค่านับแสนหรือล้านดอลล่าร์) เนื่องจากการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์นั้นไม่สามารถทำธุรกรรมที่ใหญ่ขนาดนี้ได้

ถึงแม้ว่าการซื้อขายแบบ OTC จะไม่ได้รับการกำกับดูแลเหมือนตลาดหลักทรัพย์ แต่โบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงก็จะทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีการทำธุรกรรมที่ไม่ถูกต้องเกิดขึ้น โบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงเหล่านี้รวมถึง Richfund ของจีน, Genesis Global Trading ในนิวยอร์ค และ Bitstocks ในลอนดอน

สำหรับผู้ใช้งานบิทคอยน์ทั่วไป การซื้อขายผ่านตลาดอย่าง Coinbase, Coinmama หรือ itBit เป็นวิธีการที่ปลอดภัยและง่ายที่สุดในการซื้อบิทคอยน์ และเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมการแลกเงิน วิธีการที่ดีที่สุดคือการซื้อผ่านตลาดในประเทศของคุณ ซึ่งปกติแล้วจะรวมกับธนาคาร

การซื้อขายนั้นเป็นเรื่องง่ายมาก เพียงไปที่เว็บไซต์และทำตามวิธีการสมัครสมาชิก จากนั้นคุณก็สามารถเริ่มซื้อบิทคอยน์ได้

เลย แต่สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ สำหรับการซื้อขายส่วนใหญ่จะต้องใช้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น ชื่อ, อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ และแน่นอนหากคุณใช้บัตรเครดิตหรือใช้วิธีโอนเงินผ่านธนาคารเพื่อซื้อบิทคอยน์ พวกเขาก็จะได้รับข้อมูลเหล่านี้เช่นกัน

หากคุณเลือกใช้การซื้อขายแบบนี้ ระหว่างกระบวนการนี้ ที่คุณซื้อหรือขายบิทคอยน์ เป็นจุดที่คุณอาจสูญเสียความเป็นส่วนตัวได้

B. การจัดการกระเป๋าสตางค

บนเครือข่ายบิทคอยน์ การที่คุณมีบิทคอยน์หมายความว่าคุณมีทอยู่และกุญแจส่วนตัว ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น กุญแจส่วนตัวนี้จะทำให้คุณสามารถเข้ารหัสลายเซนต์ออนไลน์ได้

หากไม่มีกุญแจส่วนตัว คุณจะไม่สามารถเข้าถึงบิทคอยน์ของคุณได้และก็ไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นของคุณ ดังนั้นคุณจึงควรเก็บมันไว้ในที่ที่ปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้

คุณจะได้รับกุญแจส่วนตัวเมื่อคุณได้รับที่อยู่บิทคอยน์ โดยกุญแจนี้เป็นข้อมูลแบบ 256-bit ซึ่งสามารถนำเสนอในรูปแบบตัวอักษรและตัวเลขได้ ตัวอย่างเช่น บางคนใช้รูปแบบฐานสิบหก - คือ 64 อักขระที่ประกอบไปด้วย 0 – 9 หรือ A – F และตัวเลือกที่ใช้กันมากที่สุดคือการใช้รูปแบบ Wallet Import Format (WIF) ซึ่งประกอบไปด้วยตัวอักษรและตัวเลข 51 อักขระ ที่ตัวแรกจะเป็นเลข 5 เสมอ

นี่คือตัวอย่างของกุญแจส่วนตัวแบบ WIF:

5KJvsngHeMpm884wtkJNzQGaCErckhHJBGFsvd3VyK5qMZXj3hS

การทำกุญแจส่วนตัวหายก็เหมือนการทำบิทคอยน์หาย หากคุณทำกุญแจส่วนตัวหาย คุณจะไม่สามารถเอาบิทคอยน์คืนมาด้วย เช่นเดียวกันหากมีคนเอากุญแจส่วนตัวของคุณไป คนคนนั้นก็จะสามารถถอนบิทคอยน์ของคุณได้ทั้งหมด

ดังนั้น คุณจะปกป้องกุญแจส่วนตัวและบิทคอยน์ของคุณได้อย่างไร?

ตัวเลือกหนึ่งข้อคือ

อีกตัวเลือกหนึ่งคือการเก็บบิทคอยน์ของคุณไว้กับผู้ให้บริการที่เป็นบุคคลที่สามหรือไคลเอนต์ ที่ให้บริการกระเป๋าสตางค์บทคอยน์ นี่เป็นประเภทซอฟต์แวร์ที่เก็บที่อยู่และกุญแจของธุรกรรมบิทคอยน์ทั้งหมดของคุณ

อย่างไรก็ตาม จำนวนนักโจมตีที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆที่มีเป้าหมายคือการโจมตีการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตนั้นเริ่มไม่ปลอดภัยในการเก็บกุญแจของคุณไว้บนกระเป๋าสตางค์แบบนั้น วิธีการที่เราแนะนำคือการเก็บกุญแจของคุณไว้แบบออฟไลน์

C. การทำธุรกรรมด้วยบิทคอยน

การทำธุรกรรมด้วยบิทคอยน์นั้นง่ายมาก หากคุณต้องการโอนเงินไปให้คนใดคนหนึ่ง คุณจะต้องมีที่อยู่บิทคอยน์ของเขา ซึ่งคุณสามารถใส่เข้าไปบนบิทคอยน์ไคลเอนต์ของคุณ หากคนที่คุณต้องการโอนเงินให้ใช้ไคลเอนต์เดียวกับคุณ สิ่งที่คุณต้องทำก็เพียงแค่ใส่อีเมลที่เชื่อมต่อกับบัญชีของเขาลงไป

ธุรกิจออนไลน์ที่รับชำระเงินด้วยบิทคอยน์นั้นจะมีปุ่มให้คลิก ซึ่งจะนำคุณไปยังกระเป๋าสตางค์ของคุณ และให้คุณสามารถทำการชำระเงินตรงนั้นได้เลย สำหรับกระเป๋าสตางค์ที่อยู่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ มักจะมี QR code ที่คุณสามารถสแกนบนโทรศัพท์ได้เลย

4. วิธีการทำเงินจากสกุลเงินคริปโต

เทคโนโลยีบล็อคเชนเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ที่สุดและมีโอกาสให้ทำเงินได้มากมาย โดยมีสองวิธีที่คุณสามารถทำได้ - การขุดและการลงทุน

A. เป็นผู้ขุด

การขุดนั้นเป็นวิธีที่ช้าแต่ปลอดภัยในการทำเงินจากบิทคอยน์และสกุลเงินคริปโตอื่นๆ และหากคุณจำได้ ผู้ขุดเป็นคนที่อยู่บนเครือข่ายที่จะทำการยืนยันธุรกรรมเพื่อแลกกับรางวัล และในกรณีของบิทคอยน์ มีรางวัลสองแบบ - แบบแรกคือรางวัลที่ได้จากการเพิ่มบล็อคใหม่ และอีกแบบคือรางวัลที่ได้จากการเลือกธุรกรรมบางอัน

สกุลเงินคริปโตต่างๆมีกระบวนการที่แตกต่างกันในการจ่ายเงินให้ผู้ขุด บางสกุลเงินก็จ่ายแค่ค่าธรรมเนียมในการทำธุรก

รรม หรือสกุลเงินอื่นๆก็มีการสร้างแรงจูงใจโดยวิธีการอื่นๆ คุณสามารถเข้าร่วมการขุดได้โดยการบริจาค CPU ให้กับเครือข่าย
เนื่องจาก CPU จะต้องใช้ไฟฟ้า สิ่งที่สำคัญก็คือการพิจารณาว่ารายรับที่คุณจะได้จากการขุดนั้นจะเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่าย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณอยู่และค่าไฟฟ้าในประเทศนั้น ค่าไฟฟ้าที่ถูกมากในประเทศจีนเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้ขุดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศจีน

ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการคำนวณของคุณคือกำลังในการ hash ของฮาร์ดแวร์ของคุณและราคาปัจจุบันของบิทคอยน์

มีฮาร์ดแวร์พิเศษที่มีอัตราการ hash สูงสำหรับผู้ขุดที่มีความจริงจัง ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสในการแก้ปัญหาของบล็อคมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วเรียกอุปกรณ์นี้ว่า ASIC (Application Specific Integrated Circuit) หรือไอซีแบบเฉพาะเจาะจง และเมื่อรวม ASIC กับค่าไฟฟ้าที่ราคาถูกแล้ว คุณจะพบว่าการขุดบิทคอยน์นั้นสามารถทำกำไรได้

คุณสามารถขุดด้วยตัวคุณเองหรือคุณสามารถเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ขุดที่แชร์ CPU กัน โดยการขุดแบบกลุ่มนี้จะเรียกว่า mining pool ซึ่งถือเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่มีฮาร์ดแวร์ และใน mining pool นี้ สมาชิกแต่ละคนก็จะต้องเสียเงินตามจำนวนกำลัง CPU ที่ใช้ pool ต่อไปนี้เป็น pool ที่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการขุดบิทคอยน์:

  1. Bitfury – อยู่ในประเทศจอร์เจีย
  2. BTC.com – อยู่ในประเทศจีน
  3. Slush – อยู่ในประเทศสาธารณรัฐเช็ค

สำหรับสกุลเงินคริปโตอื่นๆ คุณจะต้องลองหาข้อมูลดูว่า pool ไหนคุ้มค่าแก่การเข้าร่วม โดยทั่วไปแล้วจะมีการสร้าง pool เหล่านี้ทันทีที่สกุลเงินคริปโตเหล่านั้นได้รับความสนใจ

B. การลงทุนในสกุลเงินคริปโต

การลงทุนโดยตรงนั้นเป็นวิธีการสร้างรายได้จากสกุลเงินคริปโตที่รวดเร็วแต่มีความเสี่ยงสูง หากคุณไม่มีเวลาหรือทรัพยากรในการขุด คุณสามารถซื้อสกุลเงินคริปโตต่างๆได้ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บิทคอยน์ให้ผลตอบแทนที่น่าทึ่งจึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนทุกประเภท

และถึงแม้คุณจะสามารถซื้อเหรียญคริปโต ณ​ เวลาใดก็ได้ แต่มีบางเวลาที่มีโอกาสในการได้กำไร (หรือขาดทุน) สูงที่สุด ซึ่งก็คือระหว่างการเสนอขายเป็นครั้งแรกหรือ ICO (Initial Coin Offering)สำรับผู้ที่คุ้นเคยกับการลงทุนในหุ้น นี่ก็เหมือนกับการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกหรือ IPO (Initial Public Offering)

ICO คือการเปิดตัวเหรียญคริปโตเป็นครั้งแรกและยังไม่ได้มีการประเมินมูลค่า และระหว่างนั้น นักลงทุนจะประเมินและตัดสินใจว่าจะลงทุนในโครงการหรือไม่ หากมีการดำเนินการโครงการต่อและได้รับความสนใจ มูลค่าของเหรียญนั้นก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้นักลงทุนได้รับกำไร

มาดูเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการที่มีคนซื้อบิทคอยน์และก็ต้องตกใจในภายหลัง

  1. ในปี 2009 นักเรียนจากนอร์เวย์ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับการเข้ารหัสได้ซื้อ 5,000 BTC ในราคาประมาณ $27 และก็ลืมไปเลย สี่ปีต่อมาเมื่อสื่อมีการพูดถึงบิทคอยน์ เขาจำได้ว่าเขาเคยซื้อไว้และพบว่าบิทคอยน์ของเขามีมูลค่าสูงกว่า $886,000 เขาจึงขายไปครึ่งหนึ่งเพื่อซื้อบ้านหรูในย่านคนรวยในออสโล และบิทคอยน์ที่เหลือก็มีมูลค่า 28 ล้านดอลล่าร์ โดยคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบัน
  2. เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2010 โปรแกรมเมอร์ชื่อ Laszlo Hanyecz ซื้อพิซซ่าด้วยบิทคอยน์ โดยเขาจ่ายไปประมาณ 10,000 BTC ซึ่งในขณะนั้นมีมูลค่าประมาณ​ $41 แต่หากเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนี้ บิทคอยน์เหล่านั้นมีมูลค่ามากกว่า 67 ล้านดอลล่าร์ ทำให้นั่นเป็นพิซซ่าที่มีราคาแพงที่สุด ระหว่างการสัมภาษณ์ Laszlo กล่าวว่าเนื่องจากในขณะนั้นบิทคอยน์แทบจะไม่มีค่าเลย เขาจึงตื่นเต้นที่จะได้ใช้มันซื้อสิ่งของใดๆก็ตาม
  3. James Howell วิศวกรไอทีจากนิวพอร์ตเริ่มขุดบิทคอยน์ด้วยคอมพิวเตอร์โน้ตบุคของเขาในปี 2009 โดยเขาได้บิทคอยน์มา 7500 เหรียญ​จากนั้นก็หยุด หลังจากนั้นเขาก็ขายโน้ตบุคเครื่องนั้นบน eBay โดยเขาถอดฮาร์ดดิสก์ที่มีกุญแจส่วนตัวของบิทคอยน์ออกก่อน เขาเก็บฮาร์ดดิสก์นั้นไว้ในลิ้นชักและก็หวังว่าจะนำบิทคอยน์มาแลกเป็นเงินสดเมื่อมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ไม่กี่ปีต่อมา ระหว่างการทำความสะอาดบ้านฮาร์ดดิสก์นั้นถูกทิ้งไปโดยไม่ได้ตั้งใจ หากคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน บิทคอยน์ที่หายไปนั้นมีมูลค่ามากกว่า 85 ล้านดอลล่าร์ เขาต้องการทำการค้นหาฮาร์ดดิสก์นั้นในที่ฝังขยะ ซึ่งเป็นงานที่มีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง แต่เนื่องจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นไปได้ที่ก๊าซอันตรายจะรั่วไหล จึงไม่ได้มีการทำการค้นหา

ถึงแม้จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับมูลค่าของบิทคอยน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ อย่างไรก็ตามนักลงทุนควรทราบว่ามูลค่าของสกุลเงินคริปโตนั้นสามารถผันผวนได้อย่างรุนแรง ตัวอย่างเช่น ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา มูลค่าของบิทคอยน์มีการเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว

โดยทั่วไปแล้วสกุลเงินคริปโตมีความผันผวนสูง เพียงเพราะมูลค่าของบิทคอยน์มีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในอดีตไม่ได้หมายความว่ามันจะเพิ่มขึ้นอย่างนี้ต่อไปในอนาคต

คำแนะนำของเราคือ อย่าลงทุนมากกว่ามูลค่าที่คุณจะสามารถเสียได้ อย่าเอาเงินก้อนใหญ่ไปลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนสูง คุณอาจจะโชคดี แต่มันไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงในการสูญเสีย คุณสามารถดูอัตราแลกเปลี่ยนบิทคอยน์ล่าสุดได้ที่ เครื่องมือคำนวณบิทคอยน์ของเรา

5. บิทคอยน์ถูกกฎหมายหรือไม่?

เนื่องจากความนิยมของบิทคอยน์ที่เพิ่มขึ้นทำให้สกุลเงินคริปโตต่างๆได้รับความสนใจจากรัฐบาลและองค์กรกำกับดูแลทางการเงินต่างๆ บิทคอยน์ไม่ผิดกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ ซึ่งแตกต่างจากเงินกระดาษ (fiat currency) ปลอมที่ผิดก

กฎหมาย อย่างไรก็ตามธรรมชาติของบิทคอยน์ที่ไม่ระบุตัวตนผู้ใช้และเป็นสกุลเงินที่ไม่ได้มีการกำกับดูแลจากหน่วยงานใด ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศกำหนดข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจากมีความกังวลว่าบิทคอยน์หรือสกุลเงินคริปโตอื่นๆจะนำไปสู่การสูญเสียการควบคุมด้านการเงินของรัฐบาล

ประเทศส่วนใหญ่ไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้งานสกุลเงินคริปโต ดังนั้นผู้คนจึงสับสนเกี่ยวกับสถานะของมัน ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือการตรวจสอบข้อกฎหมายในประเทศของคุณว่าบิทคอยน์ผิดกฎหมายหรือไม่และโปรดทราบว่ากฎหมายเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ

การใช้บิทคอยน์ในอัลจีเรีย, โคลัมเบีย, เนปาล, บังกลาเทศ​และประเทศอื่นๆเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ในทางตรงกันข้าม ในอเมริกา บิทคอยน์ไม่เพียงแต่ถูกกฎหมายเท่านั้น แต่ยังถือเป็นสินค้าโภคภัณฑ์โดยหน่วยงาน CFTC (Commodity Futures Trading Commission)

ส่วนกฎหมายด้านภาษีก็เหมือนกับสินทรัพย์อื่นๆ
ในหลายประเทศอย่างอินเดีย บิทคอยน์ถือว่าเป็นสีเทา เนื่องจากถึงแม้ทางรัฐบาลจะไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่ก็มีการกีดกันการใช้บิทคอยน์ด้วยการออกคำเตือนเกี่ยวกับบิทคอยน์

แต่สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องพูดก็ทราบกันดีก็คือ คุณไม่ควรใช้บิทคอยน์ซื้อหรือขายสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายด้วยบิทคอยน์​ หากการทำธุรกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายถ้าทำด้วยเงินปกติ การใช้บิทคอยน์ทำธุรกรรมนั้นก็ผิดกฎหมายเช่นกัน รวมถึงการใช้สกุลเงินคริปโตอื่นๆด้วย

6. ด้านมืดของบิทคอยน์

ถึงแม้บิทคอยน์จะมีประโยชน์หลายอย่าง - ซึ่งเราได้อธิบายไปอย่างละเอียดแล้ว - คำเตือนของรัฐบาลต่างๆนั้นก็มีความจริงอยู่บ้าง

เนื่องจากมีอาชญากรที่ใช้ประโยชน์จากความเป็นที่นิยมของบิทคอยน์ ตัวอย่างเช่น มีอาชญากรบนโลกไซเบอร์ที่ใช้กลเม็ดการฉ้อฉลแบบพอนซี (Ponzi) ที่มีการให้สัญญาว่าจะนักลงทุนจะได้ผลตอบแทนสูง และเมื่อเงินหายไปแล้วผู้คนถึงเพิ่งตระหนักว่าพวกเขาติดกับดึกเข้าแล้ว รัฐบาลหลายประเทศจึงมีการออกแคมเปญเพื่อให้คำแนะนำแก่ประชาชนให้ใช้ความระมัดระวังในการลงทุน

และยังมีวิธีการใช้งานสกุลเงินคริปโตที่ผิดๆอีกคือ:

  1. เนื่องจากการโอนเงินบิทคอยน์นั้นเป็นเรื่องง่ายและไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน จึงมีกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ได้ทำการระดุมทุนผ่านโซเชียลมีเดียโดยใช้ที่อยู่บิทคอยน์ ซึ่งถึงแม้ในอดีตจะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แต่ก็ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าผู้ก่อการร้ายเหล่านี้จะประสบความสำเร็จในวันหนึ่ง อย่างไรก็ตามโปรดทราบว่าการปกปิดตัวตนของผู้ใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับเครือข่ายบล็อคเชน เมื่อมีการแปลงบิทคอยน์ไปเป็นสกุลเงินอื่นแล้ว สามารถมีการติดตามธุรกรรมต่างๆและตัวตนของคุณผ่าน IP address และเนื่องจากธุรกรรมทั้งหมดบนบล็อคเชนเป็นสาธารณะ การติดตามการเคลื่อนไหวของเงินจึงเป็นเรื่องง่ายมาก
  2. ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2017 ได้มีการปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ครั้งใหญ่ทั่วโลกซึ่งเป็นที่รู้จักภายใต้ชื่อการโจมตี Wannacry โดยมัลแวร์นี้จะทำการควบคุมคอมพิวเตอร์ของเหยื่อและเรียกค่าไถ่ และถึงแม้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่ใช้นี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ หากต้องการทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่และมัลแวร์อื่นๆ ลองอ่าน บทความนี้
  3. มีการหลอกลวงออนไลน์มากมายที่ทำให้หลายคนถูกขโมยบิทคอยน์ โดยการทำธุรกรรมธนาคารผ่านช่องทางออนไลน์ทั่วๆไปจะมีการรักษาความปลอดภัยหลายขั้นตอน เช่น รหัสผ่าน, การยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอน, OTP ฯลฯ แต่สำหรับบิทคอยน์ เพียงแค่มีกุญแจส่วนตัวคุณก็สามารถขโมยเงินจากกระเป๋าสตางค์นั้นได้ โดยนักต้มตุ๋นจะขโมยกุญแจจากคอมพิวเตอร์ด้วย keyloggers, การแฮ็คโทรจัน และการโจมตีแบบฟิชชิ่ง ดังนั้นคุณควรรักษากระเป๋าสตางค์บิทคอยน์ของคุณเป็นอย่างดีเหมือนกับที่คุณรักษากระเป๋าสตางค์ของคุณ​ มีการหลอกลวงอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นการหลอกลวงโดยร้านขายของออนไลน์ ซึ่งจะโฆษณาขายสินค้าโดยให้ส่วนลดเยอะ และรับชำระเงินด้วยบิทคอยน์เท่านั้น และเมื่อผู้ซื้อจ่ายเงินแล้ว ผู้ขายก็จะส่งสินค้าที่มีคุณภาพต่ำไปให้ - หรือแย่กว่านั้นก็คือไม่ส่งอะไรไปให้เลย และเนื่องจากการชำระเงินโดยบิทคอยน์ไม่สามารถเรียกคืนได้ ผู้ซื้อจึงไม่สามารถขอความช่วยเหลือใดๆได
  4. การหลอกลวงอีกรูปแบบเกี่ยวข้องกับICO เนื่องจากตลาดสกุลเงินคริปโตนั้นไม่ได้รับการกำกับดูแลจึงมีบางคนพยายามเปิดตัวโครงการบล็อคเชนปลอม โดยพวกเขาสัญญาว่าจะมีนวัตกรรมใหม่และทำให้นักลงทุนเชื่อและลงทุน แต่แทนที่จะพัฒนาโครงการ พวกเขาก็จะบอกว่าโครงการล้มเหลวและนำเงินไปทั้งหมด และเนื่องจากการประกาศล้มละลายเป็นเรื่องง่ายและการลงทุนก็มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงในการเสียเงิน จึงไม่ค่อยมีวิธีที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียจากการลงทุนในโครงการเหล่านี้ ถึงแม้จะมี ICO ที่ไม่หลอกลวงเช่นกัน แต่การแยกระหว่างโครงการที่ดีกับโครงการที่หลอกลวงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นหากคุณกำลังพิจารณาลงทุนในโครงการบล็อคเชนใหม่ๆ สิ่งที่สำคัญก็คือคุณควรตรวจสอบสถานะของโครงการนั้นก่อนที่จะลงทุน

7. การใช้งานบล็อคเชนในด้านอื่นๆ

บิทคอยน์เป็นการนำบล็อคเชนมาใช้งานเป็นครั้งแรกและตอนนี้ก็ยังเป็นการใช้งานที่สำคัญที่สุดอยู่ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้มีการนำบล็อคเชนมาใช้ในหลายๆรูปแบบ

A. สกุลเงินคริปโต

วิธีการหนึ่งในการใช้งานบล็อคเชนก็คือการสร้างสิ่งที่เหมือนบิทคอยน์ โดยผู้สร้างสกุลเงินเหล่านี้โฆษณาว่าตัวเองคือเวอร์ชั่นที่ดีกว่าของบิทคอยน์ และมีการเรียกสกุลเงินเหล่านี้ว่าสกุลเงินทางเลือก (altcoin) โดยมี altcoin หลักๆคือ:

  1. Litecoin: Litecoin เปิดตัวในปี 2011 และมีความแตกต่างจากบิทคอยน์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ความแตกต่างหนึ่งข้อก็คือใช้เวลาในการสร้างบล็อคน้อยกว่า โดยบิทคอยน์ใช้เวลา 10 นาทีแต่ Litecoin สามารถสร้างบล็อคใหม่ได้ทุกๆ 2.5 นาที ซึ่งหมายความว่าธุรกรรมจะได้รับการยืนยันเร็วกว่า และความแตกต่างอีกข้อคือมีการใช้อัลกอริทึ่ม hash ที่ต่างกัน บิทคอยน์ใช้อัลกอริทึ่มพิสูจน์การทำงาน (proof-of-work) แบบ SHA256 ในขณะที่ Litecoin ใช้ scrypt โดยคุณสมบัติข้อหนึ่งของ scrypt คือการสร้างฮาร์ดแวร์ CPU หรือ GPU ที่ช่วยให้แก้ปัญหาได้เร็วกว่านั้นเป็นเรื่องยากกว่า ทำให้ระบบมีความเท่าเทียมกันสำหรับผู้ขุดมากกว่า แต่ในปัจจุบันก็มี ASICS ที่สามารถใช้ในการขุด Litecoin ได้
  2. Zcash: Zcash เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2016 ซึ่งก็ให้บริการธุรกรรมที่ปลอดภัยผ่านบัญชีแบบกระจายเช่นเดียวกับบิทคอยน์ อย่างไรก็ตาม Zcash ต่างจากบิทคอยน์ตรงที่มีการใช้อัลกอริทึ่มพิสูจน์การทำงาน (proof-of-work) ที่แตกต่างกัน (ชื่อว่า zk-SNARK) และใช้กลยุทธ์ด้านความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างเช่นกัน ในระบบบิทคอยน์ ทั้งผู้โอนเงิน ผู้รับ และจำนวนเงินเป็นสาธารณะทั้งหมด ในขณะที่ในระบบ Zcash ข้อมูลเหล่านี้สามารถเก็บเป็นส่วนตัวและป้องกันไว้ได้ ภายในสิ้นปี 2017 Zcash มีมูลค่าตลาดมากกว่าหนึ่งพันล้านดอลล่าร์
  3. Dogecoin: Dogecoin เปิดตัวมาเพื่อล้อเลียนความบ้าคลั่งสกุลเงินคริปโต โดยมีโลโก้เป็นรูปสุนัขที่เป็นที่รู้จักจากการเป็น Doge meme ยอดนิยมบนอินเตอร์เน็ต โดยเป็นการลอกเลียนบิทคอยน์มาทั้งหมดและไม่มีความแตกต่างหรือการพัฒนาใดๆ เนื่องจากในตอนแรกผู้พัฒนาไม่ได้ตั้งใจจะดำเนินการอย่างจริงจัง ในตอนแรกเหรียญนี้มีมูลค่าต่ำมาก อย่างไรก็ตาม มูลค่าของมันได้เพิ่มมากขึ้นและก็เริ่มมีการลงทุนโดยนักลงทุนที่จริงจัง โดยไม่นานมานี้มีมูลค่าตลาดประมาณสองพันล้านดอลล่าร์ ผู้สร้างไม่พอใจกับความจริงที่ว่าเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อล้อเลียนนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่มีความหมาย จึงถอนตัวออกจากโครงการ และท้ายที่สุดมูลค่าของมันก็ตกลงอย่างรวดเร็วเมื่อ Ryan Kennedy เจ้าของตลาดซื้อขาย Dogecoin ที่ชื่อ Moolah ถูกจับฐานฉ้อโกง อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมกราคม 2018 มูลค่าของมันเริ่มจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

B. การใช้งานที่ไม่เกี่ยวกับค่าเงิน

ดังที่กล่าวไปข้างต้น ระบบบล็อคเชนนั้นสามารถใช้งานหลากหลายมากกว่าการใช้งานกับสกุลเงินคริปโตเพียงอย่างเดียว มีแนวคิดใหม่ๆหลายแนวคิดที่ใช้บล็อคเชนเป็นพื้นฐานและมีมูลค่านับพันล้านดอลล่าร์

  1. Ethereum: Ethereum เป็นเทคโนโลยีของแอพพลิเคชั่นที่เปรียบได้กับการที่บิทคอยน์เป็นเทคโนโลยีของสกุลเงิน โดยมันช่วยให้สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นได้โดยไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์กลาง เช่นเดียวกับที่การที่บิทคอยน์ขึ้นอยู่กับ nodes ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต ในกรณีนี้ node จะมี CPU ที่จำเป็นสำหรับแอพ และเพื่อเป็นการป้องกันการใช้งานที่ไม่ถูกต้องและเพื่อกำจัดแอพคุณภาพต่ำ Ethereum มีข้อกำหนดว่าแอพพลิเคชั่นจะต้องจ่ายเงินที่เรียกว่า ether โดยโค้ดที่พัฒนาขึ้นในเครือข่าย Ethereum นี้ดำเนินการด้วยซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Ethereum virtual machine นักพัฒนาใช้สัญญาอัจฉริยะ (smart contract) ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น ซึ่งจะบังคับใช้โดยอัตโนมัติเมื่อทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น สัญญาอัจฉริยะฉบับหนึ่งอาจระบุไว้ว่าจะมีการส่งสินค้าโดยอัตโนมัติเมื่อได้รับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว
    แอพ Ethereum เรียกว่า DAPs (decentralized applications) หรือแอพพลิเคชั่นที่ไม่มีระบบศูนย์กลาง และได้มีการเปิดตัวแอพพลิเคชั่นเหล่านี้นับร้อย ตัวอย่างเช่น แอพที่มีการใช้งานลายเซนต์ดิจิตัล, ซอฟต์แวร์สำหรับทำนาย, การจัดการการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และเว็บไซต์การพนันออนไลน
  2. Ripple: ในขณะที่บิทคอยน์มีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานสาธารณะ Ripple นั้นมีจุดประสงค์สำหรับธนาคารและเครือข่ายการชำระเงิน ปัจจุบันธนาคารต่างๆใช้โปรโตคอล SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication) ซึ่งจะต้องมีตัวกลางเข้ามาเกี่ยวข้อง เหตุผลนี้บวกกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมักทำให้การทำธุรกรรมมีความล่าช้า Ripple ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถโอนเงิน, ชำระเงิน และแลกเปลี่ยนการชำระเงินได้ตามเวลาจริงโดยมีค่าใช้จ่ายไม่สูง และถึงแม้จะยังไม่มีการใช้อย่างเป็นทางการ มีหลายธนาคารเริ่มใช้ Ripple ในช่วงทดลองแล้ว ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Ripple และ Bitcoin คือไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในเครือข่าย โดยจะต้องมีการยืนยันอัตลักษณ์ของคอมพิวเตอร์และจะต้องเป็นคอมพิวเตอร์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นถึงจะเข้าร่วมได้ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าระบบนี้ไม่ใช่ระบบสาธารณะหรือระบบไร้ศูนย์กลางที่แท้จริง

คุณคิดว่าคู่มือนี้มีประโยชน์หรือไม่? หากมีประโยชน์โปรดแชร์กับเพื่อนๆหรือเพื่อนร่วมงานของคุณบน Facebook และ Twitter.

พวกเราจัดอันดับผู้ให้บริการตามการทดสอบและการค้นคว้าอย่างเข้มงวด แต่ก็จะมีการคำนึงถึงความคิดเห็นของคุณและค่าคอมมิชชั่นจากผู้ให้บริการด้วย ผู้ให้บริการบางรายนั้นจะมีบริษัทแม่แห่งเดียวกันกับพวกเรา
เรียนรู้เพิ่มเติม
vpnMentor ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบบริการ VPN และวิจารณ์ด้านความเป็นส่วนตัว ในวันนี้ทีมนักวิจัย นักเขียนและบรรณาธิการด้านความปลอดภัยอินเตอร์เน็ตของเราหลายร้อยคนยังคงช่วยเหลือผู้อ่านต่อสู้เพื่ออิสรภาพทางออนไลน์โดยร่วมมือกับ Kape Technologies PLC ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้: Holiday.com, ExpressVPN, CyberGhost, Private Internet Access และ Intego ซึ่งอาจได้รับการวิจารณ์บนเว็บไซต์นี้ บทวิจารณ์ที่เผยแพร่บน vpnMentor เชื่อว่ามีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความและเขียนขึ้นตามมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มงวดของเรา ซึ่งจัดลำดับความสำคัญของการตรวจสอบผู้ตรวจสอบอย่างมืออาชีพและซื่อสัตย์ โดยคำนึงถึงความสามารถทางเทคนิคและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ร่วมกับมูลค่าทางการค้าสำหรับผู้ใช้ การจัดอันดับและบทวิจารณ์ที่เราเผยแพร่อาจคำนึงถึงความเป็นเจ้าของร่วมกันกับบริการที่กล่าวถึงข้างต้นและค่าคอมมิชชั่นพันธมิตรที่เราได้รับจากการซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราไม่ได้ตรวจสอบผู้ให้บริการ VPN ทั้งหมดและเชื่อว่าข้อมูลที่จะมีความถูกต้อง ณ วันที่เผยแพร่แต่ละบทความ

เกี่ยวกับผู้เขียน

ฮาร์ช มัวร์ย่าเป็นผู้ที่ชื่นชอบเทคโนโลยีซึ่งได้ให้การสนับสนุนโอเพนซอร์ซและเครื่องมือฟรีมากมายแก่สาธารณชน ในเวลาว่างเขาชอบที่จะส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของเครือข่ายและพวกยังเป็นผู้แต่งหนังสือ - How not to get hacked

คุณชอบบทความนี้ไหม? โหวตให้คะแนนเลยสิ!
ฉันเกลียดมัน ฉันไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ พอใช้ได้ ค่อนข้างดี รักเลย!
เต็ม 10 - โหวตโดย ผู้ใช้งาน
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

กรุณาแสดงความคิดเห็นว่าพวกเราสามารถพัฒนาบทความนี้ได้อย่างไร ความคิดเห็นของคุณมีค่าสำหรับเรา!

แสดงความคิดเห็น

ขออภัย แต่ช่องนี้ไม่รองรับลิงก์!

ชื่อจะต้องมีอย่างน้อย 3 ตัวอักษร

ช่องเนื้อหาจะต้องยาวไม่เกิน 80 ตัวอักษร

ขออภัย แต่ช่องนี้ไม่รองรับลิงก์!

กรุณากรอกที่อยู่อีเมลที่ถูกต้อง